Fri. Apr 26th, 2024
ปรับเว็บไซต์ให้รองรับ กับโทรศัพท์มือถือตั้งแต่วันนี้

ปรับเว็บไซต์ให้รองรับ กับโทรศัพท์มือถือตั้งแต่วันนี้

ความเป็นจริงก็คือทุกองค์กรล้วนต้องมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก ขนาดกลางไปจนถึงระดับมหาชนก็ล้วนต้องใช้เว็บไซต์ประกอบการทำธุรกิจของตนแทบทั้งสิ้น 

อย่างน้อยที่สุดเว็บไซต์สามารถทำหน้าที่เป็นหน้าร้านบนโลกออนไลน์ให้กับองค์กรได้ หากเว็บไซต์ได้รับการออกแบบมาดี ใช้งานง่ายเปิดขึ้นเร็ว ก็ย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง ไม่เฉพาะแต่คู่ค้าเท่านั้นที่จะประทับใจ ใครต่อใครที่ได้เปิดเข้ามาดูมาชมก็น่าจะอยากย้อนกลับมาใช้งานด้วยกันทั้งนั้น

ทว่าทุกสิ่งล้วนแล้วแต่ต้องมีวันเปลี่ยนแปลง จากเว็บไซต์ที่เคยภาคภูมิใจว่าสวยงามน่าใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์แต่เมื่อมาเปิดบนแท็บเล็ตหรือโทรศัพท์มือถือเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง ตัวหนังสือก็เล็กมากจนไม่สามารถอ่านได้ ดีไซน์ที่เคยดูสวยงามก็หดหายไปที่แย่กว่าก็คือหน้าเว็บโหลดช้ากว่าเดิมมาก และไม่ว่าเจ้าของเว็บไซต์จะคิดเข้าข้างตนเองว่าอย่างไรก็ยังมีคนเข้าเว็บของเราด้วยคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง

ปรับรูปแบบกรรมวิธีในการสืบค้น… เว็บไซต์

แต่หากลองศึกษาข้อมูลสถิติการใช้งานโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตแล้ว ไม่พ้นที่จะต้องยอมรับแต่โดยดีว่าอุปกรณ์สื่อสารพกพาเหล่านี้ คือ เครื่องมือที่ผู้คนส่วนใหญ่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาใช้ท่องอินเทอร์เน็ตเข้าเว็บไซต์ต่างๆ รวมไปถึงการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ประเมินกันไว้ว่าในอนาคตจะมีความเป็นไปได้สูงที่องค์กรธุรกิจหลายๆ แห่ง จะใช้งานคอมพิวเตอร์พีซีกันน้อยลง และหันมาใช้อุปกรณ์สื่อสารพกพาอย่างแท็บเล็ตและโทรศัพท์มือถือกันมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันก็พอมีให้เห็นกันบ้างแล้ว

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2558 Google.com เว็บไซต์สืบค้นข้อมูล (Search Engine) อันดับหนึ่งของโลก ได้ประกาศปรับรูปแบบกรรมวิธี (Algorithm) ในการสืบค้นใหม่หรือที่เรียกกันว่า Mobile – Friendly Algorithm โดยรูปแบบกรรมวิธีดังกล่าวจะให้ความสำคัญหรือให้คะแนนกับเว็บไซต์ที่ได้มีการออกแบบมารองรับการใช้งานบนแท็บเล็ตและโทรศัพท์มือถือก่อน ส่วนเว็บไซต์ใดที่ยังไม่ได้ปรับปรุงหรือไม่ออกแบบมาให้รองรับกับแท็บเล็ตและโทรศัพท์มือถือจะมีคะแนนลดลง จนส่งผลถึงลำดับในการสืบค้นด้วยเช่นเดียวกัน แน่นอนว่าการประกาศใช้ Mobile – Friendly Algorithm ในครั้งนี้ย่อมกระทบกับเว็บไซต์ที่เคยอยู่ในลำดับต้นๆ จากการสืบค้นด้วยกูเกิลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ เจ้าของเว็บไซต์สามารถตรวจสอบว่าเว็บไซต์ของตนรองรับการใช้งานบนแท็บเล็ตและโทรศัพท์มือถือหรือไม่ โดยตรวจสอบได้ที่ https://goo.gl/Zm0lgu

แนวทางการแก้ไขสำาหรับผู้ประกอบการที่มีเว็บไซต์

ในการปรับปรุงเว็บไซต์นั้น จำเป็นจะต้องมอบหมายให้นักพัฒนาเว็บเป็นผู้ดำเนินการ และหากเป็นไปได้ควรเป็นทีมงานเดียวกันกับผู้เริ่มต้นพัฒนาเว็บไซต์ เชื่อว่าน่าจะใช้เวลาในการปรับปรุงไม่นานจนเกินไปนัก

  • เว็บไซต์ที่ใช้ระบบจัดการเนื้อหา หรือ Contents Management System (CMS) ที่เป็นระบบเปิด (Opensource) ไม่ว่าจะเป็น WordPress, Joomla หรือ Drupal เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ถูกออกแบบให้สามารถรองรับการใช้งานบนแท็บเล็ตหรือโทรศัพท์มือถือได้อยู่แล้ว แต่ก็อาจจะต้องมีการใช้เครื่องมือเสริม (Plugin) อยู่บ้าง และหากการแสดงผลบนแท็บเล็ตและโทรศัพท์มือถือยังไม่ถูกใจก็หนีไม่พ้นที่จะต้องให้ผู้ออกแบบเว็บไซต์ทำการปรับปรุงแก้ไข
  • เว็บไซต์ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเอง เว็บไซต์ประเภทนี้ สำหรับบางองค์กรอาจต้องใช้เวลาในการปรับแต่งแก้ไขมากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการวางโครงสร้าง การออกแบบและพัฒนามาตั้งแต่ต้น รวมไปถึงโปรแกรมภาษาที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์บางครั้งจึงจำเป็นต้องมีการปรึกษาหารือและพูดคุยกับทีมพัฒนาอยู่บ่อยครั้ง
  • สำหรับผู้ประกอบการที่ยังไม่มีเว็บไซต์หรือต้องการทำเว็บไซต์ใหม่มาแทนเว็บไซต์เดิม เป็นการง่ายที่จะเริ่มต้นใหม่ เจ้าของเว็บไซต์ควรเลือกทีมงานที่สามารถพัฒนาเว็บไซต์ที่รองรับเทคโนโลยี Responsive ซึ่งสามารถแสดงผลได้ดี ทั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารพกพา

ในช่วงเวลา 2 – 3 ปีถัดจากนี้ แม้แท็บเล็ตและโทรศัพท์มือถือจะเข้ามามีบทบาทในการเข้าชมเว็บไซต์มากขึ้น แต่ก็ยังมีอุปกรณ์สื่อสารพกพกพาแปลกๆ ที่สามารถเข้าเว็บไซต์ได้ เริ่มทยอยมาให้เห็นกันมากขึ้น เช่น นาฬิกา Apple Watch หรือ BMW Connected Drive เป็นต้น ดังนั้น ผู้ประกอบการควรหมั่นติดตามข่าวสารเทคโนโลยีประเภทดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน

Leave a Reply

Or

Your email address will not be published. Required fields are marked *