Fri. May 10th, 2024
การจัดการโรงแรม, ลงทุนต่างชาติ, ประเทศญี่ปุ่น, ธุรกิจโรงแรม

ส่องโอกาสทุนไทย ปักธงโรงแรมแดนญี่ปุ่น (ตอนจบ)

นอกเหนือจากปัจจัยบวกที่มีผลต่อการลงทุนพัฒนาโรงแรม ในประเทศญี่ปุ่นที่ได้นำเสนอไปในฉบับที่ผ่านมา ตามท่ีให้ สัญญา… ฉบับน้ีเราจะนำอุปสรรคและข้อจำกัดมาบอกกล่าวต่อ

ธุรกิจโรงแรม, ญี่ปุ่น, การลุงทุน, การจัดการโรงแรม

คุณทาเคชิ คิทามูระ ผู้อำนวยการ บริษัท Japan Hotel Appraisal ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อจำกัดดังกล่าวว่าปัจจุบันสถานการณ์ประชากรญี่ปุน มีขนาดใหญ่กว่า 120 ล้านคน ก็จริง แต่อยู่ในภาวะหดตัว จากโครงสร้างประชากรที่ส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มผู้สูงวัย อัตราการเกิดใหม่ค่อนข้างต่ำ ทำให้กระแสการ เดินทางของชาวญี่ปุ่นในประเทศมีแนวโน้มลดลง ส่งผลต่อธุรกิจโรงแรมในญี่ปุ่นต้องปรับแผนการทำตลาด หันมาพึ่งพิง ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้น จากเทรนด์นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มเติบโตเป็น 60 ล้านคนในปี 2030 หลังจาก ที่ปี 2020 นี้ มีมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเป็นอีเว้นท์ยักษ์ขับเคลื่อนการเดินทาง ด้วยขนาดดีมานด์มหาศาลในอนาคต กับซัพพลาย โรงแรมทั่วญี่ปุ่นซึ่งมีจำนวนห้องพักรวมกว่า 8 แสนห้อง ยังไม่รวมแบบเรียวกังหรือที่พักดั้งเดิมอีก 8 แสนห้อง ซึ่งอาจยังไม่เพียงพอกับดีมานด์

โดยนักลงทุนต้องพิจารณาให้ดี เพราะยังมีปัจจัยเรื่องของ ฤดูกาลท่องเที่ยวมาเกี่ยวข้อง ยอดการเข้าพักในช่วงไฮซีซั่นและโลว์ซีซั่นแตกต่างกันชัดเจน ส่วนอีกอุปสรรคที่ต้องนำมาประเมินควบคู่ คือ การขยายตัวของตลาดที่พักให้เช่าระยะสั้น (Short-Term Rental) ที่คนญี่ปุ่นสนใจนำบ้านพัก เช่น อพาร์ทเมนต์ มาปล่อยขายรายวันบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ อาทิ แอร์บีแอนด์บี (Airbnb)

การจัดการโรงแรม, บริหารโรงแรม, ลงทุนในญี่ปุ่น, ธุรกิจโรงแรม

ด้านผู้ประกอบการฝั่งไทยที่สนใจปักธงลงทุนโรงแรมในแดน อาทิตย์อุทัยเป็นที่เรียบร้อย ได้แบ่งปันมุมมองน่าสนใจเกี่ยวกับ ภาพรวมตลาดโรงแรมและเหตุผลที่เลือกลงทุน หนึ่งในเชน โรงแรมไทยชื่อดัง ‘กลุ่มดุสิตธานี’ คุณนวรัตน์ ธูปทอง ผู้อำนวย การฝ่ายพัฒนาธุรกิจของบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) เล่าว่า การเกิดขึ้นของโรงแรมในญี่ปุ่น แม้ว่าจะไม่ค่อยเห็นโรงแรมใหม่ ระดับ 4 – 5 ดาวเปิดให้บริการมากนัก เนื่องจากเทรนด์การ พัฒนาโรงแรมในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มุ่งไปทางเซ็กเมนต์ ‘Limited Business Hotel’ รวมไปถึง ‘Capsule Hotel’ และ ‘Pod Hotel’ ซึ่งแบบหลังเป็นการรวมตัวของคอนเซ็ปต์ ลักซ์ชัวรี แอนด์ คูล’ มากกว่า

แต่พอรัฐบาลญี่ปุ่นมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน จึงมองว่าตลาด จะเปิดกว้างสำหรับโรงแรมระดับอัพสเกล (Upscale) หรือ 4 ดาวขึ้นไปมากข้ึน กลุ่มดุสิตธานีจึงเห็นโอกาสและจังหวะที่ดี หลังจากสนใจเข้าไปพัฒนาโรงแรมในญี่ปุ่นมาพักใหญ่ พบว่า หากเลือกโลเกชั่นในจุดหมายเมืองใหญ่ จะให้ผลตอบแทน ค่อนข้างน้อย กลุ่มดุสิตธานีจึงมองจุดหมายที่เหมาะกับการ พัฒนาโครงการแบบรีสอร์ต และเสริมด้วยจุดเด่นของแบรนด์ ที่มีความเป็นไทยสูง โดยเฉพาะเรื่องสปาและการนวดไทย

ส่วน คุณชวาทิก วนาเกษมสันต์ กรรมการบริหาร โรงแรมหลับดี ในเครือนารายณ์ โฮเต็ล กรุ๊ปเล่าถึงเหตุผลที่เลือกลงทุนใน ญี่ปุ่นว่า หลัก ๆ มาจากการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ญี่ปุ่น ที่มีแนวโน้มเติบโตได้เร็วและไกลกว่าคู่แข่งประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย โดยมีการคาดการณ์ว่าใน 20 ปีนับจากนี้ จะมี ชาวต่างชาติเดินทางมาเที่ยวญี่ปุ่นถึง 100 ล้านคน

ขณะที่ปัจจุบันโรงแรมในญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีอัตราเข้าพักเฉลี่ย 84% ตลอดปี ทำสถิติเป็นประเทศที่มีอัตราเข้าพักสูงที่สุดในโลก แม้ ตัวเลขนี้จะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับโรงแรม 4 – 5 ดาวในกรุงเทพฯซึ่งมีอัตราเข้าพักเฉลี่ย 80% ต่อปีในปัจจุบัน แต่จุดที่ยังสู้ไม่ได้ คือ เรื่องของราคาห้องพักเฉลี่ย (ADR) ที่ยังต่ำกว่าคืนละ 100 เหรียญสหรัฐ แต่ที่ญี่ ปุ่นจะพบว่า ADR พุ่งเกิน 100 เหรียญสหรัฐในวันธรรมดา และสามารถขยับราคาตามดีมานด์ในวันเสาร์ และอาทิตย์ได้ถึงเกือบ 2 เท่า

ธุรกิจโรงแรม, ญี่ปุ่น, การลุงทุน, การจัดการโรงแรม

ส่วนสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน พบว่ามีเชนรับบริหาร โรงแรมจากต่างประเทศยังเข้ามารับบริหารน้อยมาก เมื่อ
เทียบกับในไทยที่คลาคล่ำ ไปด้วยแบรนด์ระดับอินเตอรเ์นชั่นแนล คู่แข่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทในญี่ปุ่น ท้ังบริษัทใหญ่ ๆ ที่กระจาย การลงทุนไปยังหลากหลายธุรกิจ ท้ังอสังหาริมทรัพย์ รถไฟ และอื่น ๆ โดยเชนโรงแรมใหญ่ในญี่ปุ่นหลัก ๆ แล้วมี 3 ราย ด้วยกัน คือ Okura, Imperial และ New Otani ครอบคลุม ไปถึงผู้เล่นรายอื่น มีท้ังโรงแรมราคาถูก (บัดเจ็ต), โรงแรมราคา ประหยัด 3 ดาว และอัพสเกล 4 ดาว

“จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลท่ีทำให้เครือนารายณ์ฯ สนใจลงทุน โรงแรมในญี่ปุ่น ด้วยการลงทุนเปิดแบรนด์ของตัวเอง รวมถึง การเลือกใช้บริการเชนโรงแรมจากต่างประเทศ”

สำหรับเซ็กเมนต์โรงแรมท่ีเครือนารายณ์ฯ เลือกลงทุนในญี่ปุ่น คือ โรงแรมแบบ ‘Hybrid’ อยู่กึ่งกลางระหว่างความเป็นโรงแรม และโฮสเทล ภายใต้แบรนด์ ‘หลับดี’ (Lub D) หลังจากเปิดให้ บริการในไทย กัมพูชา และฟิลิปปินส์

ธุรกิจโรงแรม, ญี่ปุ่น, การลุงทุน, การจัดการโรงแรม

นอกเหนือจากปัจจัยหนนุเรื่องการเติบโตของตลาดท่องเที่ยวญี่ปุ่นแล้ว ยังมีเหตุผลสำคัญที่มีส่วนต่อการตัดสินใจอย่างยิ่ง นั่นคือ เรื่องที่ญี่ปุ่นเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติถือทรัพย์สินได้100% !!! เนื่องจากผู้ลงทุนชาวไทยส่วนใหญ่อยากถือครองทรัพย์สินเป็น ช่ือตัวเอง ต่างจากจุดหมายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างเวียดนามหรือเมียนมาท่ีชาวต่างชาติไม่สามารถถือทรัพย์สินได้ 100% ต้องเช่าระยะยาวแทน และท่ีสำคัญ… ญี่ปุ่นยังตอบโจทย์ กลยุทธ์กระจายความเสี่ยงในการลงทุน เนื่องจากเป็นตลาดที่ดีในระยะยาว

นอกจากน้ี ยังมีความโปร่งใสในการลงทุน ผู้รับเหมามีความเป็นมืออาชีพสูงมาก โอกาสหนีงานจึงเกิดขึ้นน้อย ส่วนอีกจุดที่ ทำให้มั่นใจ คือ เรื่องของระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์ พร้อมและครบครัน เดินทางไปได้ทุกเมือง โดยเฉพาะระบบขนส่งมวลชนขึ้นชื่ออย่างรถไฟ

ท้ังน้ี คุณทาเคชิ คิทามูระ ผู้อำนวยการ บริษัท Japan Hotel Appraisal ได้แนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนโรงแรมในญี่ปุ่นว่า แนะนำให้พิจารณาโลเกชั่นใน ‘เมืองรอง’ ของญ่ีปุ่น เนื่องจากมีแนวโน้มได้กำไรดีกว่าการลงทนุ โรงแรมในเมืองใหญ่ ๆ เช่น โตเกียว และโอซาก้า ซึ่งมีต้นทุนสูง ทั้งเรื่องค่าใช้จ่าย ในการลงทุน ค่าแรง และภาษีท้องถิ่นที่สูงกว่าเมืองรอง โดยปัจจุบันรัฐบาลท้องถิ่นของเมืองรองต่าง ๆ ทั่วญี่ปุ่นได้รุก โปรโมทการท่องเท่ียวอย่างเข้มข้น เพ่ือดึงดูดกระแสการเดินทาง

และเริ่มเห็นกลุ่มบริษัทรับบริหารโรงแรมที่มีชื่อเสียงระดับโลก เข้าไปเปิดให้บริการโรงแรมหรูในเมืองรองมากขึ้น

“ตลาดโรงแรมระดับ 4 – 5 ดาว ยังถือเป็นกลุ่มที่น่าสนใจ เพราะยังให้ผลการดำเนินงานท่ีดี แต่นักลงทุนจำเป็นต้องเพิ่ม ความพิเศษให้โรงแรมใหม่มีความแตกต่าง ทั้งเรื่องการออกแบบ ห้องพักและบริการ รวมถึงการปักหมุดลงทุนในโลเกชั่นให้ โดดเด่น ย่ิงใกล้แลนด์มาร์กสำคัญย่ิงได้เปรียบ เพราะพฤติกรรม ของนักท่องเท่ียวต่างชาติที่ไปเยือนญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะนิยม ใช้ชีวิตนอกโรงแรม” คุณทาเคชิกล่าว

 

Leave a Reply

Or

Your email address will not be published. Required fields are marked *