ในการออกแบบตกแต่งภายใน การออกแบบแสงสว่าง สามารถใช้ศาสตร์ของการออกแบบมากำหนดแนวทาง มิติ การมองเห็นของที่ว่างทั้งในงานสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมภายใน
หากเป็นอาคารสาธารณะเพื่อการบริการ ท่องเที่ยว เช่น โรงแรม สามารถออกแบบตกแต่งโดยการใช้แสงสว่าง มาเป็นแนวทางในการออกแบบตกแต่งได้ ไม่ว่าจะภายนอกหรือภายในอาคาร
การให้แสงสว่าง ในที่ว่างของอาคาร กลายเป็นส่วนที่เติมเต็มให้กับงานสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมภายใน ในขณะ เดียวกันแสงก็เป็นสื่อที่ยากต่อการใช้ เพราะแสงเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ การออกแบบ แสงสว่างในที่ว่างทางสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมภายใน จึงต้องอาศัยการจินตนาการเป็นสำคัญ ผู้ออกแบบต้องสามารถมีความรู้ ทักษะ และสร้างสรรค์โดยสามารถจำลองรูปแบบออกมาเป็นภาพสามมิติ หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบได้
ศาสตร์ของการออกแบบแสงสว่างในงานสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมภายใน เป็นการ ผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์และศิลปะของการใช้แสง การออกแบบแสงใน สถาปัตยกรรมต้องเป็นมากกว่าการให้การส่องสว่างที่เพียงพอตามกฎหมาย หรือมาตรฐานใดๆ แต่จำเป็นต้องส่งเสริมคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมนั้นๆด้วย
ยกตัวอย่างการออกแบบแสงสว่างในโรงแรม หากเราได้แนวทาง หรือแนวความคิดในการออกแบบโดยรวมแล้ว เราสามารถนำความรู้ความเข้าใจเรื่องแสง มาประกอบเพื่อให้แนวความคิดนั้น ชัดเจนมากขึ้น ประเด็นแรกคือ ต้องสนองต่อพฤติกรรมของผู้ใช้งาน การพักอาศัย และทำให้เกิดความรู้สึกสบาย เพื่อการพักผ่อนที่แท้จริง ถ้าผู้อ่านสังเกตจะเห็นว่า แสงสว่างที่นำมาใช้ในโรงแรม มีการนำแสงสว่างตามธรรมชาติเข้ามาใช้ในอาคาร เพื่อเป็นแนวทางในการประหยัดพลังงาน รวมถึงสามารถตอบสนองต่อสุขลักษณะ อนามัย ที่เป็นไปในเชิงของความสะอาดอีกด้วย เช่นการออกแบบห้องน้ำในห้องพักแบบเปิดโล่ง สร้างความสว่าง และยังสามารถใกล้ชิดธรรมชาติ รวมถึงสามารถเป็นการฆ่าเชื้อโรค ความอับชื้น และระบายอากาศ เพิ่มสุขลักษณะที่สะอาดอีกด้วย
การออกแบบการใช้แสงสว่างแบบแสงประดิษฐ์ ในอาคารประเภทโรงแรมจะเน้นไปที่ส่วนของการใช้แสงทางอ้อม คือ นำแสงสะท้อน หรือนำแสงตกกระทบมาใช้เพื่อสร้างบรรยากาศของพื้นที่การใช้งาน หรือที่ว่าง ร่วมกับการจัดองค์ประกอบของการออกแบบ เช่น การเน้น ในพื้นที่การใช้งาน ตัวอย่างเช่น ทางลดระดับ หรือทางเดินต่างระดับ เพื่อสร้างความปลอดภัย และเพิ่มการมองเห็นในพื้นที่การใช้งาน เป็นต้น นับว่า แสงสว่างมีบทบาทเป็นอย่างยิ่งต่อการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมภายใน
การใช้แสงเพื่อกำหนดอารมณ์ของสถานที่ในงานสถาปัตยกรรมภายในนั้นก็มีส่วนสำคัญ ยิ่งเห็น ได้เด่นชัดมากขั้นในโครงการประเภทโรงแรมและรีสอร์ท ที่การให้ แสงต้องผสมผสานอย่างกลมกลืนกับงานสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมภายใน ต้องสร้างบุคลิกที่น่าจดจำให้กับสถานที่นั้นๆ ในบรรยากาศของแสง ไม่ว่าจะสว่างหรือสลัว การทำให้เกิดความรู้สึกเชื้อเชิญ น่าเข้าไปใช้บริการเป็นสิ่ง จำเป็น การเพิ่มเติมบรรยากาศของแสงสลัว หรือแสงเฉพาะที่ ยังเป็นการช่วยทำให้ เกิดความเป็นส่วนตัว ซึ่งมีความจำเป็นในการสร้างบรรยากาศในการพักผ่อนหรือเข้าพักเพื่อใช้บริการ รวม ไปถึงการใช้แสงส่องเน้นการตกแต่งให้น่าใช้งาน หรือส่องเน้นผนังประดับก็สร้างความประทับใจได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
จากด้านจิตวิทยาการรับรู้ มาสู่วิทยาศาสตร์ พลังงาน ในยุคที่ สังคมตระหนักในการประหยัดพลังงาน จึงทำให้บทบาทของผู้ออกแบบแสงสว่างมีมากขึ้น คือการออกแบบแสงสว่าง ที่คำนึงถึงการประหยัดพลังงาน เพราะผลกระทบของการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มาก เกินไป และสร้างความร้อนสะสมในพื้นที่ใช้งาน เท่ากับเป็นการเร่งทำลายธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมของโลก ความรับผิดชอบของผู้ออกแบบจึงอยู่ที่การสร้างสรรค์ สภาพแวดล้อมของแสงที่ทั้งใช้ประโยชน์ได้ดีมีความงาม และลดการใช้พลังงานที่ ไม่จำเป็น ความรู้ความเข้าใจในคุณสมบัติพื้นฐานของหลอดไฟ และดวงโคมประเภท ต่างๆ คุณสมบัติทางแสงที่ได้ (ปริมาณและคุณภาพ) อายุการใช้งาน จะช่วยให้สามารถ คัดสรร และเลือกใช้ หลอดไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหมาะสมกับสถานที่แต่ละแห่ง นอกจากนี้การนำเอาระบบควบคุมการปิดเปิด หรือหรี่ดวงโคม (Dimming Control System) หรือการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Daylight Sensor (อุปกรณ์ที่ไว้ใช้วัดค่าความ สวางของแสงธรรมชาติที่เข้ามาภายในอาคาร) มาใช้งานร่วมกับระบบ Dimming Control System เพื่อหรี่ดวงโคมให้ส่องแสงตามความจำเป็นในการใช้งานแต่ละช่วงเวลา ก็เป็นการลดภาระการใช้พลังงานโดยรวมได้เช่นกัน
กล่าวโดยสรุปบทบาทของศาสตร์การออกแบบแสงสว่างในสถาปัตยกรรมนั้น นับวัน ก็จะมีความสำคัญมากขึ้น ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น การออกแบบแสงสว่างที่ดี นั้นคือการสร้างสมดุลย์ระหว่างการให้แสงเพื่อใช้กิจกรรมการใช้งานที่เหมาะสมและการทำให้ความงามทางสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมภายในเป็นที่ปรากฏ ต่อสายตา ซึ่งอาคารแต่ละประเภท พื้นที่การใช้งานแต่ละแบบก็มีความแตกต่างกัน ในรายละเอียด การพยายามทำความเข้าใจ และให้ความสำคัญกับศาสตร์ของการ ออกแบบแสงสว่างนี้จะช่วยเติมเต็มงานสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมภายใน และช่วยเพิ่มคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมภายในมากขึ้น
You may also like
-
เปิดชื่อที่พักทั่วไทย เสมือนได้ไปดาวอังคาร โดยไม่ต้องออกนอกวงโคจร
-
นวัตกรรมจากสวีเดนที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมโรงแรมทั่วโลก
-
Smart Lighting, Smart Hotelier Experiences
-
10 สุดยอดงานออกแบบ Lobby โรงแรมของโลก
-
Philips แปลงร่างเป็น Signify รุกโกยตลาด B2B ประเทศไทยด้วย ‘ระบบแสงสว่างอัจฉริยะ’ และโครงการ ‘Free Survey’