Fri. Apr 26th, 2024
จับตายุทธศาสตร์การแก้ไข พัฒนาอุตฯ ท่องเที่ยว ตัวชี้วัดสร้างรายได้เพิ่มขึ้นและยั่งยืนของไทย

จับตายุทธศาสตร์การแก้ไข พัฒนาอุตฯ ท่องเที่ยว ตัวชี้วัดสร้างรายได้เพิ่มขึ้นและยั่งยืนของไทย

ปี 2560 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. ตั้งเป้าหมายภาพรวมรายได้ไว้ที่ 2.84 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% หรือคิดเป็นเกือบ 20% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพีทั้งหมด แบ่งเป้าหมายรายได้ตลาดภายในประเทศ 9.5 แสนล้านบาท ส่วนรายได้ต่างประเทศ 1.89 ล้านล้านบาท โดยวางสัดส่วนรายได้จากตลาดยุโรป 35% ส่วนเอเชียสัดส่วน 65% เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นของโลก

หัวใจหลักของแผนการตลาดปี 2560 มุ่งเน้นการเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม (Preferred Destination) อย่างยั่งยืน ด้วยการเพิ่มรายได้ทางการท่องเที่ยวควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนทางการท่องเที่ยว ผ่านการสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศ แล้วจึงเชื่อมต่อเศรษฐกิจอย่างมี

ประสิทธิภาพด้วยวิถีไทย โดยการส่งมอบประสบการณ์เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น (Local Experience) ที่สามารถเพิ่มคุณค่าและสร้างมูลค่าให้กับการท่องเที่ยวไทย สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ให้คนในท้องถิ่นเกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยว ขณะเดียวกันการทำตลาดท่องเที่ยว จะมุ่งเน้นไปที่การจับตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพเพิ่มมากขึ้น เพราะมีศักยภาพในการใช้จ่าย

เมื่อเป้าหมายรายได้เพิ่มสูงขึ้น แต่สำหรับภาคธุรกิจโรงแรม ซึ่งถือเป็นด่านแรกๆ ของธุรกิจท่องเที่ยว ก็ยังอดเป็นห่วงไม่ได้ว่าปัญหาที่คาราคาซังมาโดยตลอด และนายกสมาคมโรงแรมไทย หรือทีเอชเอ ทุกยุคสมัยที่ผ่านมา ได้พยายามผลักดันแก้ปัญหา แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้ปัญหานี้คลายลงไป เรื่องนี้คุณศุภวรรณ ถนอมเกียรติภูมิ นายกสมาคม ทีเอชเอ คนปัจจุบัน ระบุว่า เรื่องนี้กลายเป็นปัจจัยฉุดทำลายกลไกการตลาด ด้วยการที่โรงแรมเถื่อนเหล่านี้ เข้ามา แข่งขันด้วยการตัดราคาห้องพัก จนธุรกิจโรงแรมที่ จดทะเบียนถูกกฎหมายในภาพรวมไม่สามารถปรับขึ้นราคาห้องพักได้ เหมือนกับหลายๆ ประเทศที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของโลก

“เราต้องเร่งแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรมให้มากขึ้น เชื่อว่า หากมาตรการกวาดล้างจากหน่วยงานภาครัฐเอาจริงเอาจัง และมีความต่อเนื่อง อย่างการกล้าเข้าจับกุมโรงแรมอีสติน ตัน ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยเจ้าของเป็นนักธุรกิจเครื่องดื่มชื่อดังนั้น ก็ถือเป็นสัญญาณที่ดี ทำให้เหล่าบรรดาโรงแรมเล็กๆ ห้องพักรายวัน หรือแม้แต่โรงแรมขนาดใหญ่ แต่ไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายโรงแรมถูกต้อง ก็หันมาสนใจถาม และเลือกที่จะปรับตัวเข้าหาความถูกต้อง

มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันด้านบริการ คุณภาพ และการตลาดอย่างแท้จริง ส่วนปัญหาอื่นคงต้องขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการแต่ละแห่ง หากถามปี 2560 ปัญหาเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบหรือไม่ คงไม่เท่าใด และ ททท. ก็โฟกัสกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพมากขึ้น ก็ยังทำให้รายได้ท่องเที่ยวไม่ได้หายไป”

ท่องเที่ยวไทย ปี 60

ด้านคุณอิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ สทท. ระบุว่า ช่วงปี 2560 สทท. จะขับเคลื่อนการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นเสาหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศให้เข้มแข็งได้ต่อไป ผ่านกลยุทธ์ต่างๆ คือ

  1. เดินหน้านโยบายพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทั้งด้านคุณภาพและปริมาณตามมาตรฐานสากล ให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด
  2. พัฒนาพื้นที่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในชุมชน ด้วยการเข้าไปช่วยส่งเสริมการตลาดสู่ชุมชน
  3. การจัดทำมาตรฐานการท่องเที่ยวต่างๆ ทั้งเรื่องมัคคุเทศก์ มาตรการการบริการ มาตรฐานของโรงแรมที่พัก เป็นต้น

สำหรับแนวทางยุทธศาสตร์ของคณะกรรมการสภาฯ ท่องเที่ยวชุดใหม่ ที่จะรับภารกิจปฏิบัติหน้าที่ระหว่างปี 2559-2561 จะช่วยกัน
สร้าง ‘ความเป็นผู้นำอุตสาหกรรม’ ภายใต้พันธกิจมุ่งเน้นสร้างมาตรฐานอย่างเป็นระบบ ล้อไปกับ 3 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย

  1. การสร้างความเข้มแข็งทางการแข่งขันทางการท่องเที่ยวในเวทีโลก
  2. สร้างระบบมาตรฐานห่วงโซ่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
  3. สร้างระบบศูนย์กลางองค์ความรู้ด้านวิชาชีพการท่องเที่ยว

“เมืองไทยเราจะสามารถพัฒนามาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเทียบระดับโลก เพื่อผลักดันรายได้ท่องเที่ยว ให้เติบโตแบบก้าวกระโดดได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ต้องถกเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะเราเองก็ต้องยอมรับว่าหลายแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรมไปมาก ต้องรับ
เข้าไปพัฒนาคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานสากล จึงจะสามารถขยับราคาบริการอย่างสมเหตุผล เรื่องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานก็สำคัญ ที่จะทำให้การเดินทางสู่แหล่งท่องเที่ยวชุมชนได้ง่ายขึ้น หรือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับนักท่องเที่ยวผู้พิการ เพื่อเข้าถึงอย่างเท่าเทียม อีกเรื่องที่สำคัญ คือ เมืองไทยก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0 แต่ยังมีผู้ประกอบการท่องเที่ยวอีกมาก ยังไม่มีช่องทางเพิ่มความรู้ พัฒนาการทำตลาดของตัวเอง สทท. จะต้องเข้ามาช่วยพัฒนาเรื่องการเขียนโปรแกรมซอฟต์แวร์ ก่อนจะนำมาใช้ประโยชน์ในช่องทางการตลาดในอนาคต”

แนวทางการพัฒนาหลายๆ ด้าน ต่างเป็นปัญหาที่ถกกันมายาวนาน แต่ทุกอย่างล้วนต้องใช้เวลา ส่วนการพัฒนาด้านใดจะประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน จะสามารถเอื้อประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวส่วนรวมได้เพียงใด เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องจริงใจร่วมกันผลักดันที่สำคัญหน่วยงานรัฐต้องจริงใจในการหาวิธีแก้ไข

Leave a Reply

Or

Your email address will not be published. Required fields are marked *