Fri. Apr 26th, 2024
กรมท่องเที่ยวชูนวัตกรรมไอทีจัดฐานข้อมูลนักท่องเที่ยว กำหนดทิศทางนโยบายบริหารงานรองรับอุตสาหกรรมเติบโต

กรมท่องเที่ยวชูนวัตกรรมไอทีจัดฐานข้อมูลนักท่องเที่ยว กำหนดทิศทางนโยบายบริหารงานรองรับอุตสาหกรรมเติบโต

แน่นอนว่าสังคมไทย สังคมโลกปัจจุบัน กระแสไอทีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น และก็เริ่มขยายวงกว้าง ไปยังทุกหน่วยของสังคม แม้แต่ในสังคมชนบทเองภาครัฐ ก็ได้เริ่มเข้าไปปูพื้นด้วยการยกระดับการชำระเงินด้วยระบบคิวอาร์โค้ด ผ่านโทรศัพท์มือถือ เมื่อทุกอุตสาหกรรมเห็นความสำคัญในเรื่องไอทีที่จะเข้ามาใช้เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้น แต่หากอุตสาหกรรมใดไม่ยอมปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เท่ากับเสียโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจไป

แน่นอนว่าสังคมไทย สังคมโลกปัจจุบัน กระแสไอทีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น และก็เริ่มขยายวงกว้างไปยังทุกหน่วยของสังคม แม้แต่ในสังคมชนบทเองภาครัฐก็ได้เริ่มเข้าไปปูพื้นด้วยการยกระดับการชำระเงินด้วยระบบคิวอาร์โค้ด ผ่านโทรศัพท์มือถือ เมื่อทุกอุตสาหกรรมเห็นความสำคัญในเรื่องไอทีที่จะเข้ามาใช้เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้น แต่หากอุตสาหกรรมใดไม่ยอมปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เท่ากับเสียโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจไป

เช่นเดียวกับกรมการท่องเที่ยว ตามวิสัยทัศน์ของอธิบดีกรมการท่องเที่ยวคนใหม่ คุณอนันต์ วงศ์เบญจรัตน์ ที่ระบุว่า ทุกวันนี้นักท่องเที่ยวเดินทางด้วย ‘สมาร์ทโฟน’ จึงต้องเร่งพัฒนาข้อมูลรองรับให้ดีขึ้น ซึ่งกรมการท่องเที่ยวจะขอยืมโมเดลแพลตฟอร์มออนไลน์ชื่อดัง อย่างทริปแอดไวเซอร์ มาใช้กับการทำงานทั้ง ในเรื่องของระบบรีวิว การคอมเมนต์ การจัดเรตติ้งผ่านดัชนีสินค้าและบริการการท่องเที่ยวให้ครบวงจร ‘Plan-Do-Check-Act’ โดยเราจะคัดออกมาว่าสินค้าท่องเที่ยวไหนดี หรือสินค้าท่องเที่ยวไหนไม่ดี กรณีไม่ดี ก็เจาะลึกไปอีกว่าไม่ดีตรงไหน เพราะอะไร เพื่อให้นักท่องเที่ยวค้นหาและตรวจสอบข้อมูลได้ โดยกรมจะใช้แพลตฟอร์มที่มีอยู่แล้ว เป็นเครื่องมือควบคุมคุณภาพการท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่าน่าจะดำเนินการในเรื่องนี้ได้ภายในปี 2561

สำหรับแพลตฟอร์มออนไลน์ดังกล่าว นักท่องเที่ยวสามารถให้ความคิดเห็นหรือรีวิวการรับบริการและความพึงพอใจจากการเดินทางท่องเที่ยวได้โดยตรง ลักษณะเดียวกับที่เว็บไซต์ทริปแอดไวเซอร์ทำอยู่ในขณะนี้ แต่กรมนำมาปรับใช้กับสินค้า ท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศสามารถรีวิวการใช้บริการของบริษัททัวร์ แหล่งท่องเที่ยวร้านค้า สปา เพื่อให้กรมสามารถจัดเก็บข้อมูลความคิดเห็นของ

ฐานข้อมูลท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยวนำไปตรวจสอบ และปรับปรุงเรื่องการหลอกลวงนักท่องเที่ยวได้ในอนาคต ถือเป็นกลไกในการจัดเรตติ้งคุณภาพของบริการทุกอย่างของนักท่องเที่ยว คุณอนันต์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าไทยมีปัญหาเรื่องนักท่องเที่ยวถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยหลักใหญ่แล้ว มาจากช่องว่างทางภาษา คือ เป็นการสื่อสารกันอย่างไม่เข้าใจ ดังนั้น หากสามารถมีเครื่องมือให้นักท่องเที่ยวสามารถแสดงความ

คิดเห็นได้เองโดยตรง และเราไปทำหน้าที่รับข้อมูลจาก ตรงนั้นมา หลังจากนี้ก็จะช่วยเข้าไปควบคุมดูแลบริการต่างๆ ที่เอารัดเอาเปรียบกับนักท่องเที่ยวได้ ถือเป็นการวางแผน รองรับการเติบโตในระยะยาว เนื่องจาก ในอีก 3 ปีข้างหน้า หรือในปี 2563 บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จะดำเนินการสร้างอาคารผู้โดยสาร

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฟส 2 แล้วเสร็จ ซึ่งจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 60 ล้านคนต่อปี และหนุนให้ในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือปี 2570 ประเทศไทยจะรองรับนักท่องเที่ยว ต่างชาติสูงถึง 60 ล้านคน การนำเทคโนโลยีมาเป็นตัวแปรสำคัญในเรื่องการเก็บข้อมูล เพื่อกำหนดนโยบายต่างๆ ของหน่วยงานภายในกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือการบริการข้อมูลต่างๆ สำหรับนักท่องเที่ยว ถือเป็นหัวใจหลัก และทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเติบโตอย่างเป็นระบบ

“ที่ผ่านมา มีหลายๆ คำพูด ระบุในทำนองเดียวกันว่า การขับเคลื่อนประเทศส่วนใหญ่ภาคเอกชนจะเป็นคนนำภาครัฐ กรมการท่องเที่ยวจึงต้องการยกเครื่องการทำงาน เพื่อเป็นฝ่ายชี้ให้เอกชนเห็นว่า เอกชนควรเดินไปในทิศทางไหน และเกิดการพัฒนาร่วมกันในการวางนโยบาย ทิศทางการท่องเที่ยวต่างๆ อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ท่องเที่ยวไทยยังมีปัญหาเรื่องการจัดการคน เพราะคนถือเป็นหนึ่งในหัวใจหลัก เราจะต้องควบคุมคุณภาพคนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าบริการท่องเที่ยวให้ดีขึ้นด้วย ซึ่งกรมการท่องเที่ยวจะเร่งพัฒนาบุคลากรให้เข้าสู่ยุคเทคโนโลยี 4.0 ซึ่งก็คือจะต้องให้เป็นบุคลากรที่มีความคิดสร้างสรรค์ตลอดเวลา ไม่หยุดอยู่กับที่ เพราะในอนาคตอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่จะมีการเติบโตต่อเนื่อง” คุณอนันต์ กล่าว

เมื่อนำนวัตกรรมด้านไอที มาเป็นตัวแปรหลักในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจท่องเที่ยวในอนาคต ที่กำลังก้าวสู่โลกออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ เชื่อว่าโอกาสการพัฒนาท่องเที่ยวร่วมกับภาคเอกชน จะไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น เพราะใช้ฐานข้อมูลเดียวกันในการคิดวิเคราะห์ วางแผน กำหนดนโยบายต่างๆ ส่วนจะสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่พัฒนาจากเทคโนโลยีได้มากน้อยเพียงใดนั้นคงขึ้นอยู่กับผู้กำหนดนโยบาย

Leave a Reply

Or

Your email address will not be published. Required fields are marked *