Thu. Apr 25th, 2024
เจาะอินไซต์ ‘ไลฟ์สไตล์ โฮเทล’ โดนใจ ‘มิลเลนเนียลส์’

เจาะอินไซต์ ‘ไลฟ์สไตล์ โฮเทล’ โดนใจ ‘มิลเลนเนียลส์’ (ตอนจบ)

ฉบับที่แล้วเราเล่าถึงเทรนด์ธุรกิจโรงแรมที่กำลังมาแรงมาก ๆ อย่าง ‘ไลฟ์สไตล์ โฮเทล’ เพื่อเจาะลูกค้าในกลุ่มเซ็กเมนต์นักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ โดยเฉพาะลูกค้าเซ็กเมนต์มิลเลนเนียลส์มีอายุระหว่าง 18 – 45 ปี ซึ่งชื่นชอบและค้นหาประสบการณ์การเข้าพักแบบใหม่ ๆ ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป รวมถึงไลฟ์สไตล์โฮเทลของเชนโรงแรมระดับนานาชาติ

ฉบับนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับไลฟ์สไตล์โฮเทลของผู้ประกอบการโรงแรมไทยเจ้าหนึ่ง พร้อมล้วงลึกถึงที่มาและเบื้องลึกในการวิจัยตลาด กระทั่งเล็งเห็นว่าโอกาสของไลฟ์สไตล์โฮเทลนั้นมีแนวโน้มเติบโตดีมากแค่ไหน

คุณศิรเดช โทณวณิก กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาศัย โฮลดิ้งส์ในกลุ่มดุสิต อินเตอร์เนชันแนล จำกัด เริ่มต้นเล่าว่า นักท่องเที่ยวกลุ่ม ‘มิลเลนเนียลส์’ ถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงอย่างมาก สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การรู้จักตัวลูกค้ากลุ่มนี้ให้ดีมากที่สุด ทั้งเรื่องความสนใจ ความชื่นชอบ และพฤติกรรมการจับจ่าย ด้านสินค้าท่องเที่ยว

โดยในแง่การตัดสินใจซื้อสินค้า ลูกค้ากลุ่มมิลเลนเนียลส์เป็นกลุ่มที่คำนึงถึง ‘ความคุ้มค่า’ อย่างมาก ความคุ้มค่าที่ว่านี้ ไม่ได้หมายถึงราคาถูกเสมอไป แต่เป็นความคุ้มค่าในมุมของราคาที่จ่ายไปกับคุณภาพที่ได้รับมากกว่าหรือพูดง่าย ๆ คือเป็นราคาที่สามารถจับต้องได้นั่นเอง นอกจากนี้ ลูกค้ากลุ่มมิลเลนเนียลส์ยังมองหาประสบการณ์กินเที่ยวตามแบบฉบับของคนท้องถิ่นแท้ ๆ ตามเมืองท่องเที่ยวต่าง ๆ ทั่วโลกสอดคล้องกับลักษณะการใช้ชีวิตที่ไม่นิยมติดอยู่กับกรอบเดิม ๆ

หนึ่งในสถิติน่าสนใจ คือ ตลอดปี 2560 มีนักท่องเที่ยวกลุ่มมิลเลนเนียลส์เดินทางไปต่างประเทศทั่วโลกรวมกว่า 190 ล้านทริป และทางองค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (UNWTO) คาดการณ์แนวโน้มว่าจะขยายตัวมากถึง 300 ล้านทริปในปี 2563 คิดเป็นกว่า 30% ของจำนวนทริปที่นักท่องเที่ยวเดินทางไปต่างประเทศทั้งหมดในปีดังกล่าว

และเมื่อวิจัยตลาดครอบคลุมทั้งโรงแรมในไทย เอเชีย อเมริกา ยุโรป และออสเตรเลียแล้ว พบว่า ยังไม่มีโรงแรมแบรนด์ใดในภูมิภาคเอเชียที่เข้าถึงตลาด ‘ไลฟ์สไตล์ โฮเทล’ อย่างชัดเจน ทั้งที่เมื่อปี 2560 รายได้ของตลาดไลฟ์สไตล์ โฮเทลมีการเติบโตมากถึง 8.8% เลยทีเดียว เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับตลาดโรงแรมทั่วไปที่มีเชนรับบริหาร ซึ่งมีอัตราการเติบโตเพียงปีละ 2.5% เท่านั้น

‘ช่องว่าง’ ที่เกิดขึ้นระหว่างกราฟการเติบโตของตลาดไลฟ์สไตล์ โฮเทลและโรงแรมทั่วไปที่มีเชนรับบริหาร จึงดึงดูดให้บริษัทฯ ตัดสินใจเข้ามาพัฒนาโรงแรมในเซ็กเมนต์นี้ ด้วยการวางกลยุทธ์ ‘สร้างความแตกต่าง’ มุ่งนำเสนอบริการโรงแรมที่ได้มาตรฐานและตรงตามความต้องการของกลุ่มมิลเลนเนียลส์ ขณะเดียวกันคือการมอบประสบการณ์เข้าถึงท้องถิ่นในแบบของเอเชีย เป็นไปตามเป้าหมายเพิ่มความสามารถในการแข่งขันสำหรับชนกับแบรนด์ไลฟ์สไตล์โฮเทลของเชนต่างประเทศที่ทยอยเปิดตัวไปแล้วก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็น มาม่าเชลเตอร์ ของเครือแอคคอร์โฮเทล, ม็อกซี่ของแมริออทอินเตอร์เนชั่นแนล และซิติเซ่นเอ็ม จากเนเธอร์แลนด์

ธุรกิจโรงแรม

บริษัทฯ จึงได้ฤกษ์เปิดตัวแบรนด์โรงแรม ‘อาศัย’ ไปเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา บริษัทฯ จึงได้ฤกษ์เปิดตัวแบรนด์โรงแรม ‘อาศัย’ ไปเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา และทำให้กลุ่มดุสิต อินเตอร์เนชันแนล เป็นเชนโรงแรมไทยรายแรกที่ผลักดันแบรนด์กลุ่มไลฟ์สไตล์โฮเทลเข้าในไทยเปิดตัวที่เดียวพร้อมกัน 6 แห่งทั้งในไทยและต่างประเทศตั้งเป้าเปิดให้บริการได้ในปี 2562

โดยแห่งแรกตั้งอยู่บนทำเลใจกลางตลาดนัดสวนจตุจักร ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวมีชื่อเสียงของกรุงเทพฯ อย่างมาก นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกรู้จักเป็นอย่างดี คาดเปิดให้บริการในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า ส่วนอีก 5 แห่ง มีโรงแรมในย่านสาทร ซอย 12 ส่วนที่เหลือเป็นโรงแรมในต่างประเทศ แบ่งเป็น 3 แห่งในฟิลิปปินส์ และอีก 1 แห่งเป็นเมียนมา คิดเป็นจำนวนห้องพักทั้งหมดกว่า 1,000 ห้องพัก

โดยแห่งแรกตั้งอยู่บนทำเลใจกลางตลาดนัดสวนจตุจักร ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวมีชื่อเสียงของกรุงเทพฯ อย่างมาก นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกรู้จักเป็นอย่างดี คาดเปิดให้บริการในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า ส่วนอีก 5 แห่ง มีโรงแรมในย่านสาทร ซอย 12 ส่วนที่เหลือเป็นโรงแรมในต่างประเทศ แบ่งเป็น 3 แห่งในฟิลิปปินส์ และอีก 1 แห่งเป็นเมียนมา คิดเป็นจำนวนห้องพักทั้งหมดกว่า 1,000 ห้องพัก และภายในปี 2561 บริษัทฯ จะขยายจำนวนโรงแรมอาศัยเพิ่มเป็น 10 แห่ง เล็งปักธงโลเกชั่นในประเทศญี่ปุ่นและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติม

โดยตั้งเป้าเซ็นสัญญาเพื่อพัฒนาแบรนด์โรงแรมอาศัยปีละ 10 แห่ง เพื่อผลักดันให้แบรนด์โรงแรมไทยแบรนด์นี้สามารถสยายปีกเติบโตในต่างประเทศ นอกเหนือจากญี่ปุ่นที่มองไว้แล้ว ยังเห็นศักยภาพของตลาดในเกาหลีใต้ และออสเตรเลียอีกด้วย

ขณะที่กรอบการลงทุนโรงแรมอาศัยแต่ละแห่งอยู่ที่ประมาณ 400-500 ล้านบาท เพราะได้วางโมเดลการลงทุนและออกแบบพื้นที่ห้องพักให้เกิดการใช้งานอย่างคุ้มค่ามากที่สุด ให้สามารถลดการใช้พื้นที่ลงได้มากถึง 50% เมื่อเทียบกับโรงแรมระดับกลางที่มีจำนวนห้องพักเท่ากัน ด้านกลยุทธ์การตั้งราคาขายห้องพักกำหนดราคาเฉลี่ยไว้ที่ 1,500-1,800 บาทต่อห้องต่อคืน ขึ้นอยู่กับระดับความร้อนแรงของโลเกชั่นนั้น ๆ

คุณศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล เล่าเสริมว่า สำหรับรูปแบบการให้บริการของกลุ่มโรงแรมอาศัย เราโฟกัสการออกแบบให้ออกมาในแนวร่วมสมัยแล้ว พร้อมกำหนดขนาดห้องพักและรูปแบบการตกแต่งให้เป็นมาตรฐานเดียวกันที่ 15 ตารางเมตรต่อห้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้มาตรฐานและคุณภาพเทียบเท่าแบรนด์โรงแรมในเครือดุสิตธานี

ขณะที่พื้นที่ส่วนกลาง โรงแรมอาศัยได้ตัดพื้นที่ล็อบบี้ออก แล้วปรับให้เข้ากับความต้องการของลูกค้ากลุ่มมิลเลนเนียลส์ โดยออกแบบเป็นพื้นที่ใช้งานร่วม สำหรับ Eat Play Work แนวการออกแบบจะเน้นให้เข้ากับเอกลักษณ์และตัวตนของแต่ละท้องถิ่นที่โรงแรมอาศัยไปเปิดให้บริการ

ด้านการนำเทคโนโลยีทันสมัยมาให้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างประสบการณ์การจองและการเข้าพัก เช่น ให้ลูกค้าได้เช็กอินเข้าพักที่ตู้บริการอัตโนมัติด้วยตัวเอง มีบริการคู่มือท่องเที่ยวออนไลน์แบบพิเศษที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมแบบท้องถิ่น และเชื่อมบริการให้เข้าถึงไกด์ท้องถิ่น

และนี่คือหนึ่งในตัวอย่างของการพัฒนาโรงแรมแนว “ไลฟ์สไตล์โฮเทล” ของผู้ประกอบการโรงแรมในไทยที่น่าจับตาผู้ประกอบการโรงแรมคนไหนที่สนใจอยากพัฒนาไลฟ์สไตล์โฮเทลเป็นของตัวเอง สิ่งสำคัญคงหนีไม่พ้นการให้ความสำคัญกับการวิจัยตลาดอย่างเต็มที่และหนักหน่วง จนมั่นใจว่าได้ไลฟ์สไตล์ โฮเทลที่มีแนวทางเป็นของตัวเองแตกต่างไม่ซ้ำทางคนอื่น และสอดรับกับพฤติกรรมท่องเที่ยวของกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างด

Leave a Reply

Or

Your email address will not be published. Required fields are marked *