Fri. Apr 19th, 2024
‘พ.ร.บ.โรงแรม’ ส่งเสริมท่องเที่ยวหรือปกป้องทุนใหญ่

‘พ.ร.บ.โรงแรม’ ส่งเสริมท่องเที่ยวหรือปกป้องทุนใหญ่

นายเกรียงศักดิ์ โยธาประเสริฐ เขียนบทความวิจารณ์ ‘พ.ร.บ.โรงแรม’ ไว้ว่า เกสต์เฮาส์ เชียงใหม่โวยถูกปิดผิด พ.ร.บ.โรงแรม ให้เช่ารายวันแบบโฮมสเตย์มีได้ไม่เกิน ๔ ห้อง หาไม่ผิด พ.ร.บ.โรงแรม เจ้าของห้องคอนโด หรืออพาร์ทเมนท์ให้เช่ารายวัน ผิด พ.ร.บ. โรงแรม

ผู้ประกอบเหล่านี้เกือบทั้งหมดเป็นรายย่อย หรือบุคคลธรรมดา ธุรกิจขนาดเล็ก หรือไม่ก็ทำเป็นอาชีพเสริม หรือไม่นักศีกษาญาตินักศีกษานานทีปีหน มาสอบหรือรับปริญญา ต้องการประหยัดรายจ่ายก็มาขอพักรายวัน แต่ก็เป็นความเสี่ยงของผู้ให้เช่าทันที่ และในบางกรณีก็ถูกเจ้าหน้าที่อ้าง พ.ร.บ. โรงแรมไปตรวจสอบเพื่อรีดไถ

พ.ร.บ. โรงแรม เริ่มมีขึ้นในปี ๒๔๗๘ คือกว่าแปดสิบปีมาแล้ว จุดมุ่งหมายแรกเริ่มเพื่อดูแลผู้พักคนไทย คงไม่ได้นึกถึงการท่องเที่ยว  พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้มีการแก้ไขและออกใหม่ครั้งสำคัญในปี ๒๕๔๗ ต่อมาเมื่อการท่องเที่ยวเติบโตขึ้นก็มีการสร้างโรงแรมเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น  นักท่องเที่ยวในยุคแรกก็มาพักท่องเที่ยวตามโรงแรมที่มีเครือข่ายทั่วโลกมาพักผ่อนปีละหนหรือมาประชุมธุรกิจหรือราชการด้วย บทบาทของเจ้าของโรงแรมขนาดใหญ่และพ.ร.บ.โรงแรมจึงเพิ่มมากขึ้น

พ.ร.บ.โรงแรมปัจจุบัน ผู้ที่ไม่ได้ใบอนุญาต โรงแรม แต่หากมี ห้องหรือคอนโดให้เช่าที่พักรายวันก็ถือเป็นการทำผิด และมีโทษทางอาญา การเป็นอาชญากรด้วย (มาตรา ๕๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา๑๕ (ทำโดยไม่มีใบอนุญาตโรงแรม) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับและปรับอีกวันหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่)

การท่องเที่ยวแน่นอนว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย ๔๐ ปีก่อนเราอาจมีนักท่องเที่ยวเพียง ๒-๓ ล้านคน ๓๐ ปีก่อน ๕ ล้านคน แต่ปัจจุบัน ราว ๓๖-๓๗ ล้านคน  กรุงเทพฯได้รับการโวตว่าเป็นเมืองที่นักท่องเที่ยวอยากมามากที่สุดในเอเซีย นักท่องเที่ยวจีนเลือกมาไทยมากที่สุด ยกเว้นปีนี้ที่ญึ่ปุ่นแย่งไป สี่ปีทีผ่านมาเศรษฐกิจภาคต่างๆซบเซา แต่ก็ได้การท่องเที่ยวที่ช่วยพยุงไว้ และก็เป็นการพยุงความหวังของคนทุกระดับ เจ้าของโรงแรมหรู และเจ้าของร้านอาหารหรือของฝากริมถนน

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการโรงแรมหรูดูจะบ่นไม่พอใจอยู่เสมอ โดยกล่าวว่าเพราะที่พักขนาดเล็กไม่ได้ใบอนุญาตโรงแรมมาทำให้เสียราคาค่าที่พักต่อคืน คำถามคือจริงหรือหากไม่มีที่พัก ขนาดเล็ก เกสต์เฮาส์ โฮสเทล โฮมสเตย์ คอนโด และอพาร์ทเมนท์ราคาที่พักต่อคืนและค่าใช้จ่ายนักท่องเที่ยวต่อหัวจะสูงขึ้น ธุรกิจท่องเที่ยวไทยจะดีขึ้น

ประมาณกันว่าปัจจุบันมีโรงแรมที่ได้รับใบอนุญาต หมื่นกว่า ไม่ได้รับ หมื่นกว่า อาจเรียกได้ว่าครึ่งต่อครึ่ง แต่หากรวมเกสต์เฮาส์ อพาร์ทเมนท์ คอนโด สัดส่วนที่พักที่ไม่ได้ใบอนุญาต น่าจะมากกว่า หากกำจัดที่พักเหล่านึ้ ทำกันจริง ไม่เฉพาะ เชียงใหม่ แต่ทั่วประเทศ จะมีห้องพักในราคาที่เหมาะสมรับนักท่องเที่ยว ๓๗ ล้านคนได้หรือ หากไม่มีเขาก็คงไปประเทศอื่น อาจอ้างว่ามีการแก้ไขเงื่อนไขให้ขอใบอนุญาตโรงแรม แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่ได้ง่าย

สิบกว่าปีทีผ่าน เทคโนโลยีได้มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค รวมถึงการทำธุรกิจ ชอปปิ้งออนไลน์แทนที่จะไปซื้อห้าง มีแชร์ริ่งอีโคโนมี่ แทกซี่แกรป ห้องให้เช่าฝ่านแอร์บีเอนบี นักท่องเที่ยวก็เช่นกันแทนที่จะจองโรงแรมโดยตรง ก็ไปจองผ่านเว็บไซต์ บางเว็บไซต์เข้ามาในไทยกว่าสิบปีแล้ว (เรื่องนี้ก็น่าแปลกที่เจ้าของโรงแรมไทยมีเงินมหาศาลแต่ไม่สร้างแพลตฟอร์มขี้นมา) สาธารณูปโภคต่างๆเกิดขี้น ไวฟาย รถไฟฟ้า แผนที่กูเกิล เครื่องมือสื่อสารที่ผู้บริโภค และผู้ให้บริการติดต่อกันได้ง่ายผ่านมือถือ เหล่านี้จึงทำให้เกิดนักท่องเที่ยว ที่เดินทางเองเลือกที่พักเองได้ง่ายขี้น รสนิยมของนักท่องเที่ยวเหล่านี้ย่อมต่างจากนักเดินทางที่มาพักโรงแรมหรูซึ่งอาจมาประชุมธุรกิจหรือเยี่ยมลูกค้า

เห็นได้ชัดว่าการท่องเที่ยวไทยหลังครึ่งปี ๒๕๖๑ เต็มไปด้วยความผันผวน จากเข้มงวดตามกฎหมายมาไล่แจกแถม การแก้ไขหากใช้กฎหมาย จึงต้องเปิดกว้างและคำนึงถึง เทคโนโลยี และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป


ที่มา : www.lokwannee.com วันที่ 6 ธ.ค. 61
www.lokwannee.com/web2013/?p=335026

Leave a Reply

Or

Your email address will not be published. Required fields are marked *