Fri. Mar 29th, 2024
ถาวร

“ถาวร”ชู 6 นโยบาย ยกระดับสนามบิน ทย.

“ถาวร” มอบ 6 นโยบายยกระดับสนามบินทย. ไทม์ไลน์สนามบินเบตงต้องเปิดมิ.ย.นี้ ลั่นสนามบินไหนติดลบ ต้องเน้นพื้นที่เชิงพาณิชย์เพิ่ม

นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่ผู้บริหารกรมท่าอากาศยาน (ทย.) โดยมีผู้บริหารที่เกียวข้องเข้าวร่วม วันนี้ (13 มกราคม 63) ซึ่งโดยสรุปมีสาระสำคัญคือ

1. ยกระดับท่าอากาศยานให้เป็น SMART AIRPORT โดยจัดให้มีระบบเช็คอินด้วยตนเองแบบอัตโนมัติ (Auto Check-in System) ระบบออกบัตรโดยสารด้วยตนเอง (Biometric) จุดวางกระเป๋าสัมภาระแบบบริการตัวเอง (Self-Bag Drop) ระบบตรวจสอบ Scan ความปลอดภัยแบบ Laser Molecular Body Scanner การตรวจหนังสือเดินทางด้วย Auto Channel บริการ Mobile Application เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร

สามารถเชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ (IOT (Internet of Things) Big Data) ยกระดับท่าอากาศยานกระบี่ให้เป็นท่าอากาศยานต้นแบบ (Smart Airport) บริหารการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Efficiency) บริหารตัวชี้วัดความรวดเร็วในการเดินทางของผู้โดยสารจากจุดเช็คอินจนถึงจุดขึ้นเครื่องให้รวดเร็วกว่าเดิม คิวไม่ยาว ใช้ระบบ IT (Information Technology) บริหารจัดการเพื่อความแม่นยำ รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ยกระดับสนามบิน

2. ยกระดับท่าอากาศยานให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจการบิน (HUB AIRPORTS) และเป็นมาตรฐานสากล งานบริการ พนักงานต้องมี Service Mind ระบบรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล (Smart Security) การอำนวยความสะดวกและการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการ ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ มีระบบติดตามโรคระบาดจากคน พืช สัตว์ ประมง และจัดตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง จัดให้มีระบบ Connectivity เพื่อเชื่อมโครงข่ายกับท่าอากาศยานอื่น ๆ เพื่อเป็นศูนย์กลางการให้บริการในภูมิภาค จัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้ได้มาตรฐาน ภายในปี 2564 มีแผนงาน/โครงการจัดสร้างรั้วให้ได้มาตรฐานครบทุกท่าอากาศยาน

3. กำหนดแผนของท่าอากาศยานทุกแห่งต้องมีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน มีแผนอำนวยความสะดวกผู้โดยสารในช่วงเทศกาล อาทิ จำนวนห้องผู้โดยสาร ที่จอดรถ ห้องน้ำ ต้องเพียงพอและสะอาดตลอดเวลา โดยเฉพาะช่วง High Season มีแผนงานระบบรักษาความปลอดภัย แผนเผชิญเหตุ ซึ่งต้องเตรียมพร้อมและฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ การบริหารจัดการกองทุนหมุนเวียนต้องสอดคล้องกับประสิทธิภาพการให้บริการผู้โดยสาร บริหารสินทรัพย์และจัดการที่ดินว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด คัดเลือกท่าอากาศยานที่เหมาะสมเป็นศูนย์กระจายสินค้า

ยกระดับสนามบิน 1

4. บริหารจัดการงบประมาณที่ตกค้างตั้งแต่ปี 2557 – 2562 ให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา จัดทำแผนปฏิบัติงาน (Action Plan) การใช้จ่ายงบประมาณปี 2563 การจัดซื้อจัดจ้างต้องมีประสิทธิภาพและดำเนินการถูกต้องตามสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานไม่เกิดปัญหา และมีบทลงโทษเจ้าหน้าที่หรือคณะกรรมการที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับหน่วยงานราชการและประชาชน

5. การบริหารจัดการและการพัฒนาท่าอากาศยาน โดยเร่งรัดการเปิดใช้ท่าอากาศยานเบตง จังหวัดยะลา ภายในเดือนมิถุนายน 2563 ทุกท่าอากาศยานต้องมีแผนบริหารจัดการน้ำ อาทิ แผนป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก แผนแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง เป็นต้น พัฒนาท่าอากาศยานให้เป็น Green Airport ดำเนินงานท่าอากาศยานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน เร่งหาข้อสรุปเรื่องท่าอากาศยานนครปฐม และท่าอากาศยานพัทลุง ทย. ต้องเตรียมบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีใบรับรองผู้จัดการสนามบินสาธารณะ เพื่อเข้าสู่การสรรหาผู้อำนวยการท่าอากาศยาน วางแผน (Succession Planning) ในอนาคตกรณีมีผู้เกษียณอายุหลายคนพร้อมกัน

6. การดำเนินการกับท่าอากาศยานที่มีผลประกอบการติดลบ ศึกษาโอกาสในการเพิ่มรายได้แก่ท่าอากาศยาน โดยมุ่งเน้นการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์มากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น บริหารจัดการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ จัดการที่ดินที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ และประสานงานกับการท่องเที่ยว หน่วยงานท้องถิ่น สายการบิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมให้มีผู้มาใช้บริการท่าอากาศยานมากขึ้น

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

https://www.thansettakij.com/content/business/418777

Leave a Reply

Or

Your email address will not be published. Required fields are marked *