Wed. Apr 24th, 2024
กฎหมายแรงงานฉบับปรับปรุงใหม่

กฎหมายแรงงานฉบับปรับปรุงใหม่

กฎหมายแรงงานใหม่นี้เป็นฉบับที่ 7 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2562 มีสาระสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้

1. กรณีนายจ้างผิดนัดการชำระเงินในกรณีต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนด เช่น
1.1 การคืนเงินประกันที่เรียกเก็บโดยไม่มีสิทธิ์เรียกเก็บหรือเรียกเก็บเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (มาตรา 10)
1.2 การเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า (มาตรา 17/1)
1.3 ไม่จ่ายค่าล่วงเวลา (มาตรา 70)
1.4 ไม่จ่ายค่าจ้างเมื่อหยุดกิจการชั่วคราว (มาตรา 75)
1.5 ไม่จ่ายเงินชดเชย (มาตรา 118)
1.6 เงินชดเชยพิเศษ (มาตรา 120 มาตรา 120/1 มาตรา 121 และมาตรา 122)

กรณีดังกล่าวข้างต้น หากผิดนัดนายจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 (มาตรา 9)

2. เรื่องของการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง (แก้ไขมาตรา 13)

3. กรณีนายจ้างบอกเลิกการจ้างโดยไม่บอกล่วงหน้า ต้องจ่ายเงินค่าจ้างเหมือนกับบอกล่วงหน้า แต่ต้องจ่ายทันทีที่บอกเลิก (มาตรา 17/1)

4. มาตรา 53 เขียนให้ชัดเจนขึ้นว่า “ให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานอันมีลักษณะ คุณภาพ และปริมาณเท่ากัน หรืองานที่มีค่าเท่าเทียมกันในอัตราที่เท่ากันไม่ว่าลูกจ้างนั้นจะเป็นชายหรือหญิง”

5. ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น ไม่เกินปีละสามวันทำงานโดยได้รับค่าจ้าง (มาตรา 57/1) เดิมลาได้โดยตกลงกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างว่าได้รับค่าจ้างหรือไม่ ลาได้ปีละกี่วัน ตอนนี้บังคับว่าต้องจ่ายสามวันไม่ว่าจะลากี่วันก็ตาม

6. มาตรา 59 เขียนให้ชัดขึ้นว่าลูกจ้างผู้หญิงมีสิทธ์ลาคลอดได้เก้าสิบวันและให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ไม่เกินสี่สิบห้าวัน

7. เพิ่มขั้นค่าชดเชยในกรณีลูกจ้างเกษียณอายุหรือเลิกจ้าง โดยไม่มีความผิดจากสูงสุดไม่เกิน 300 ว้นทำงานเป็น “ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบยี่สิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสี่ร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสี่ร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้าง ซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนาณเป็นหน่วย” (มาตรา 118(6))

ทั้งหมด คือ สาระสำคัญของกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ สิ่งที่นายจ้างต้องปฏิบัติ คือ ไปแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างตามกฎหมายฉบับใหม่และให้ติดประกาศภายในสิบห้าวัน คือ ภายในวันที่ 20 พฤษภาคม 2562 การไม่แก้ไขและติดประกาศให้ถูกต้องมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

ส่วนการลาเพื่อไปทำกิจธุระจำเป็น ถ้าไม่สบายใจก็อาจถามความเห็นพนักงานให้มีความคิดตรงกันว่าอย่างไร ให้ถือว่าเป็นธุระจำเป็นจะได้ไม่ต้องถกเถียงกันภายหลังก็ได้


ขอบคุณข้อมูลจาก : นิตยสาร Thai Hotels & Travel Vol.10 No.56

Leave a Reply

Or

Your email address will not be published. Required fields are marked *