Sat. Apr 20th, 2024
เปิดใจ ‘กอบกาญจน์’ ดันท่องเที่ยวสุขภาพและการแพทย์ฮับเอเชีย

เปิดใจ ‘กอบกาญจน์’ ดันท่องเที่ยวสุขภาพและการแพทย์ฮับเอเชีย

ตลอดช่วงเวลา 2-3 ปีมานี้ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นตามลำดับ จนปัจจุบันสัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจของไทยมาจากภาคท่องเที่ยวพุ่งสูงถึง 16.5% จากในอดีตมีสัดส่วนเพียง 10% ต้นๆ เท่านั้น ยิ่งในช่วงที่นานาประเทศได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจกันถ้วนหน้า การมุ่งสร้างรายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวไทยมาชดเชยอุตสาหกรรมอื่นที่ยังได้รับผลกระทบ ด้วยการมุ่งจับตลาดที่มีศักยภาพด้านการใช้จ่ายจึงมีความสำคัญมากขึ้น

ด้วยแนวโน้มสดใสของกลุ่มสินค้าบริการท่องเที่ยวประเภทนี้ ส่งผล ให้คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ออกมาระบุถึงแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ โดยกระทรวงได้แบ่งรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism) ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) เป็นการเดินทางมาเพื่อการรักษาพยาบาลเป็นหลัก และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) เป็นการใช้บริการเชิงสุขภาพเพื่อฟื้นฟูและบำรุงสุขภาพ

สถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทย จากข้อมูลพบว่ามีผู้มาใช้บริการทางการแพทย์ของไทยสัดส่วนมากที่สุดในโลก หรือมีจำนวน 1.2 ล้านคน จากจำนวนผู้เดินทางเข้ามาประเทศไทย ต่อปี จากจำนวนนักเดินทางที่เดินทางเพื่อใช้บริการทางการแพทย์ในต่างประเทศประมาณปีละ 7 – 8 ล้านคน ก่อให้เกิดเม็ดเงินต่อระบบเศรษฐกิจกว่า 1 แสนล้านบาท ซึ่งสาเหตุเพราะนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ยอมรับถึงศักยภาพการแข่งขันของไทยที่ทัดเทียมประเทศอื่น มีการบริการที่ได้มาตรฐาน มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ ทันสมัย บุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ ที่สำคัญค่าใช้จ่ายในการให้บริการต่ำใกล้เคียงกับประเทศอินเดีย

เปิดใจ ‘กอบกาญจน์’ ดันท่องเที่ยวสุขภาพและการแพทย์ฮับเอเชีย

ขณะที่แนวโน้มท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ก็ถือเป็นกลุ่มสินค้าที่มี มูลค่าสูง จากข้อมูลพบว่าในตลาดโลกมีมูลค่าสูงถึง 1.6 ล้านล้านบาท ซึ่งไทยสร้างรายได้เป็นอันดับ 13 ของโลก สร้างรายได้ เข้าประเทศ 2.85 หมื่นล้านบาท โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และฝรั่งเศส จะเห็นได้ว่ามูลค่าสินค้า กลุ่มนี้ ยังสร้างรายได้เข้าประเทศได้น้อย ยังมีขนาดทางตลาดที่เล็กกว่าการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ค่อนข้างมาก สวนทางกับแนวโน้มการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของโลกที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในไทยโตกว่าการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพถึง 4 เท่า ขณะที่ในตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของโลกพบว่าการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโตกว่าการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ประมาณ 7.3 เท่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ประกอบกอบการด้านการแพทย์ของไทยส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ที่มีเงินทุนหนา มาตรฐานการบริการสูงจึงมีศักยภาพในการสร้างรายได้ที่ดี ขณะที่ผู้ประกอบการเชิงสุขภาพของไทยส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและมีข้อจำกัดในการดำเนินกิจการ

“กระทรวงจะต้องเข้าไปช่วยสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการเชิงสุขภาพ เพราะเราต้องการเพิ่มสัดส่วนนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ เนื่องจากเป็นกลุ่มมีรายได้สูง การศึกษาดี ระยะเวลาพักนาน นอกจากนี้ยังมีธุรกิจการแพทย์แผนไทย โดยปี 2558 ไทยมีผู้ประกอบการการแพทย์แผนทางเลือกราว 7,739 ราย ถือเป็น อีกทางเลือกในการการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สอดคล้องกับแนวโน้มความนิยมการรักษาแบบแพทย์แผนทางเลือกจากในประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากขึ้น ตามเทรนด์การท่องเที่ยวปัจจุบัน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าว คุณกอบกาญจน์ ยังระบุว่า บทบาทภาครัฐในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในระดับต่างๆ นั้น พบว่า หากเป็นระดับประเทศ มีการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ปี 2559 – 2568 ระดับกระทรวง ในยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทยปี 2558 – 2560 ได้ช่วยผลักดันสินค้าสู่การเป็นผู้นำการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของภูมิภาคเอเชีย ผ่านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างครบวงจร ทั้งด้านตลาดและการให้บริการ ยกระดับมาตรฐาน การกำหนดหลักเกณฑ์ด้านราคาและมาตรฐาน เพื่อลดการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการจนมีผลต่อการรักษามาตรฐานการให้บริการและราคาการบริการ การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในอาชีพเพื่อจูงใจให้เข้าสู่อาชีพนี้มากขึ้นและลดการขาดแคลนบุคลากร

การพัฒนาบริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของชุมชนให้สามารถเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวหลักของจังหวัด และการเน้นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นควบคู่กับการสร้างมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาเมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยมีการบริการและโครงสร้างพื้นฐานที่ครบวงจร อาจพัฒนาร่วมกับการท่องเที่ยวในมิติอื่น เช่น ลองสเตย์ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นต้น

การส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนในการสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เช่น การสร้างศูนย์สมุนไพรเพื่อการท่องเที่ยว รวมถึงการสร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับจังหวัดและภูมิภาคที่ผนวกกับกิจกรรมท่องเที่ยวอื่นเพื่อเพิ่มมูลค่า เป็นต้น

ท่องเที่ยวสุขภาพ

การส่งเสริมและสนับสนุนด้านการตลาดแก่ผู้ประกอบการเชิงสุขภาพ เช่น จัดทำเว็บไซด์กลางเพื่อบริการด้านสุขภาพของประเทศ จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งแนวทางส่งเสริมเหล่านี้ น่าจะเห็นผลในทางปฏิบัติได้ภายในสิ้นปีนี้ หรืออย่างช้าภายในกลางปี 2560 เพื่อให้ไทยเป็นผู้นำของเอเชียอย่างเต็มรูปแบบ

แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ จากภาครัฐและการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชน จะทำให้สินค้าท่องเที่ยวกลุ่มนี้เป็นแม่เหล็กช่วยดึงดูดรายได้จากภาคการท่องเที่ยวมากขึ้นเพียงใด จะเป็นเส้นทางช่วยคัดกรองนักท่องเที่ยวคุณภาพเข้ามาใช้บริการได้เพิ่มขึ้นขนาดไหน ไทยจะกลายเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวประเภทนี้ของเอเชียได้หรือไม่ ต้องติดตามกันต่อไป…

มีการใช้จ่ายสูง โดยปัจจุบันเมืองไทยมีสถานประกอบการเพื่อสุขภาพที่ได้รับรองมาตรฐานแล้ว 1,609 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นสปา 509 แห่ง นวดเพื่อสุขภาพ 1,070 แห่ง และนวดเพื่อเสริมสวย 30 แห่ง ในจำนวนนี้มีสปาบริการเชิงสุขภาพระดับ High-End มีชื่อเสียงและสร้างมูลค่าเพิ่มสูงในไทย มี Destination Spa และ Day Spa หลายแห่งที่มีชื่อเสียงติดอันดับโลกและได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

 

Leave a Reply

Or

Your email address will not be published. Required fields are marked *