Fri. Apr 19th, 2024
ทางลัดสู่ ‘เมืองรอง’

ทางลัดสู่ ‘เมืองรอง’

เมื่อช่วงปลายปี 2560 ที่ผ่านมา ‘คุณสมคิด จาตุศรีพิทักษ์’ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ได้มอบนโยบายสำคัญด้านการท่องเที่ยวแก่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รวมถึงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เร่งผสานความร่วมมือกันโดยด่วน เพื่อผลักดันนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวใน ‘เมืองรอง’ ได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น

คุณสมคิด บอกว่า “เปรียบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เหมือนร่มใบใหญ่ คอยดึงธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ ให้เจริญเติบโตตามไปด้วย” ยิ่งเห็นรายได้ท่องเที่ยวซึ่งครองสัดส่วนมากถึง 20% ของจีดีพีแล้ว เรียกได้ว่าไม่ใช่สัดส่วนที่น้อยเลย

จึงอยากให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนด้านท่องเที่ยวและคมนาคมช่วยกันผลักดันให้เกิดการขยายตัวมากขึ้น ให้มันออกดอกออกผลไปสู่ทุกภาคส่วนเป็น ‘อินคลูซีฟ โกรท’ (Inclusive Growth) ที่แท้จริง!

การเดินทางท่องเที่ยว

‘ผลลัพธ์ในเชิงกระจายรายได้ยังไม่ดีเท่าที่ควร หน่วยงานภาครัฐจึงไม่สามารถบริหารงานแบบที่ผ่านๆ มาได้อีกต่อไป’ เพราะตอนนี้ไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวมากถึง 34-35 ล้านคนต่อปีแล้ว หลายๆ จุดหมายยอดนิยมซึ่งมีไม่กี่แห่งในไทย เช่น สมุย และเชียงใหม่กำลังจะระเบิดเพราะตอนนี้ไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวมากถึง 34-35 ล้านคนต่อปีแล้ว หลายๆ จุดหมายยอดนิยมซึ่งมีไม่กี่แห่งในไทย เช่น สมุย และเชียงใหม่กำลังจะระเบิด จึงอยากหา ‘ทางลัด’ หรือ ‘Short Cut’ ช่วยให้การกระจายรายได้เห็นผลเร็วขึ้น!

แน่นอนว่าไม่ใช่สิ่งที่ ททท. จะทำได้เพียงลำพัง ในฐานะที่ผมดูแลหลายกระทรวง จะพยายามให้เกิดการเกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากที่สุด “ผมมองว่าปี 2561 จะเป็นปีที่สำคัญมาก หลังจากตลอดปีที่ผ่านมารัฐบาลได้เริ่มวางพวกโครงสร้างพื้นฐานไว้แล้ว” อย่างเช่น รถไฟไทย-จีน ที่ตอกเสาเข็มไปแล้ว ถือเป็นจุดเริ่มต้น ที่ดีเลยก็ว่าได้ ขณะที่เมกะโปรเจกต์รางคู่ ตัวนี้จะดันให้ได้เพราะเป็นโครงการที่สำคัญที่สุดในด้านเศรษฐกิจ

ด้านความร่วมมือระหว่างการบินไทยกับแอร์บัส ได้ลงนามในสัญญาความร่วมมือเพื่อประเมินโอกาสทางธุรกิจของโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภาเมื่อเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมาก็จะเป็นอีกโครงการที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

“ปี 2560 ที่ผ่านมาถือเป็นปีที่ประเทศไทยได้ดึงตัวเองขึ้นมาพร้อมปรับฐานเพื่อสร้างอนาคต ทำให้มั่นใจอย่างมากว่าในปี 2561 จะเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยได้ทะยาน ยกระดับฐานรากให้แข็งแรงขึ้นได้จริงๆ” คุณสมคิด กล่าว

สำหรับหนึ่งในนโยบายสำคัญ คือ การแก้ไขความยากจนของประชากรในประเทศ โดย ‘ท่องเที่ยว’ จะเป็นหนึ่งในเครื่องจักรที่ช่วยกระจายรายได้จากนักท่องเที่ยวเผื่อแผ่ไปถึงคนในชุมชนสามารถซื้อผลผลิตทางการเกษตรและสินค้าของชุมชนได้โดยตรง

ทั้งนี้ หัวใจสำคัญหนีไม่พ้นเรื่องของการบริหารงานและยกระดับศักยภาพของคนในชุมชนให้พร้อมรองรับและผลิตสินค้าให้ตรงใจและความต้องการของนักท่องเที่ยว

ท่องเที่ยวเมืองรอง

แน่นอนว่าทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนท่องเที่ยวต้องร่วมแรงช่วยกัน เอาความก้าวหน้าของภาคการท่องเที่ยวเดินทางไปถึงเมืองรอง และลงลึกถึงในระดับชุมชนให้ได้ เพราะจริงๆ แล้วศักยภาพของเมืองรองนั้นมีสูงมาก แต่มันตัน ยังไม่ได้รับการทะลุทะลวงอย่างที่ควรจะเป็น

ระยะหลังๆ ที่ดีขึ้น เพราะได้ ‘สายการบินต้นทุนต่ำ’ (โลว์คอสต์) เข้าไปช่วยบินสู่เมืองรองมากขึ้น จึงทำให้หลายๆ เมืองเจริญขึ้นผิดหูผิดตา แต่สิ่งที่อยากเห็นเพิ่มเติม คือ นักท่องเที่ยวเดินทางจากเมืองรองสู่เมืองรองอื่นๆ โดยรอบอีกที รวมไปถึงการผลักดันให้ ‘รถไฟ’ เป็นตัวนำด้านการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง

ด้าน ‘คุณยุทธศักดิ์ สุภสร’ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวใน 55 เมืองรอง โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยวในเมืองรองมาคิดเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ตามที่ได้ทราบกันแล้วนั้น

จากมาตรการภาษีดังกล่าว ททท. ได้กำหนดแนวทางด้านการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง โดยกระตุ้นการท่องเที่ยวในท้องถิ่น ภายใต้แคมเปญ ‘Amazing Thailand Go Local หรือ เที่ยวท้องถิ่นไทย ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโต’ เพื่อกระจายโอกาสในเชิงพื้นที่อีกทั้ง กระจายโอกาสในเชิงรายได้จากการท่องเที่ยวให้ลงสู่เศรษฐกิจฐานรากด้วย

การท่องเที่ยว

โดย ททท. ได้แบ่งการดำเนินงานในแคมเปญดังกล่าว 7 หัวข้อด้วยกัน คือ Enjoy Local, SET in the Local, Local Link, Eat Local, Our Local, Local Heroes และ Local Strength

“ทั้งนี้ ททท. ได้จัดอบรมติดอาวุธด้านการตลาดอย่างยั่งยืนทางการตลาดท่องเที่ยว เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้แทนชุมชนท่องเที่ยว 144 คน จาก 72 ชุมชน จากทั่วประเทศ
มุ่งเพิ่มศักยภาพและเทคนิคการส่งเสริมการขาย และสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง ให้ความรู้และบรรยายโดยผู้บริหารระดับสูงของ ททท. และสมาคมทางการท่องเที่ยวของไทย ในหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับชุมชน”

โดยการจัดอบรมการเตรียมความพร้อมเพื่อความยั่งยืนทางการตลาดการท่องเที่ยวชุมชนในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ Local Strength ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งในห่วงโซ่อุปทานและสินค้าพร้อมขายพัฒนาเรื่อง Creative Tourism ในแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งสนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในธุรกิจบริการและการท่องเที่ยว (Travel Tech & Start-up Business in services) เพื่อส่งเสริมการขายเข้าไปสู่เมืองรอง

“ททท. ต้องเร่งเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้าน ทั้งฝั่งดีมานด์และซัพพลาย เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่กำลังจะเดินทางเข้าไปสอดรับกับแนวคิดของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยวและสินค้าเกษตรเป็นหลัก จึงได้ประกาศนโยบายท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัดออกมา”

ทั้งนี้ สิ่งที่ ททท. ยังคงเป็นห่วงอยู่ คือ เรื่องของศักยภาพการรองรับ ว่าจะทำอย่างไรให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและวิถีของชุมชน ทำให้ททท. ต้องเร่งเตรียมความพร้อมในจุดนี้ เพื่อเห็นผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาว โดย ททท. เตรียมประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานระดับจังหวัด เพื่อออกแบบแผนพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกัน ให้เข้ากับจุดแข็งและจุดอ่อน และตรงกับความต้องการของแต่ละจังหวัดเพื่อทำให้ ‘เมืองรอง’ เหล่านี้ มี ‘เสน่ห์’ มากขึ้นนั่นเอง!

Leave a Reply

Or

Your email address will not be published. Required fields are marked *