Fri. Apr 19th, 2024
นับถอยหลัง 4 เดือน ‘กฎหมายแรงงาน’ ร้านอาหาร-โรงแรม รีบคิดปรับตัวรับมือภาวะแย่งชิงแรงงาน

นับถอยหลัง 4 เดือน ‘กฎหมายแรงงาน’ ร้านอาหาร-โรงแรม รีบคิดปรับตัวรับมือภาวะแย่งชิงแรงงาน

กลายเป็นกระแสร้อนชั่วข้ามคืน เมื่อกระทรวงแรงงานฯ มีประกาศพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ซึ่งสาระสำคัญของ พ.ร.ก. ฉบับนี้ คือ การเพิ่มโทษให้มีอัตราสูงขึ้น โดยเฉพาะโทษปรับ ‘นายจ้าง’ จากเดิมหากกระทำผิดเกี่ยวกับการจ้างงานแรงงานต่างด้าว ไม่ว่าจะทำผิดต่อแรงงานต่างด้าวกี่คนจะนับรวมเป็นกรณีเดียว แต่ พ.ร.ก. ฉบับนี้ จะปรับนายจ้างแยกตามจำนวนแรงงานต่างด้าวรายคนทำให้โทษสูงขึ้น เช่น นายจ้างที่จ้างต่างด้าวทำงาน แต่เป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ หรือรับต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือรับต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานกับตนเข้าทำงาน มีโทษปรับตั้งแต่ 400,00 – 800,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน หรือนายจ้างให้คนต่างด้าวทำงานไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 400,000 บาท ต่อต่างด้าว 1 คน เป็นต้น ถือว่าทำให้ ผู้ประกอบการหลายๆ ราย โดยเฉพาะในธุรกิจด้านบริการ

ก่อนที่กฎหมายฉบับดังกล่าว จะเป็นช่องโหว่ให้เกิดการเรียกรับเงินอย่างผิดกฎหมาย หรือตลาดแรงงาน ‘ช็อก’ เฉียบพลัน
ที่อาจเกิดปัญหาในมิติสังคม และเศรษฐกิจ ตามมาติดๆ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ประกาศใช้มาตรา 44 แก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที ยืดลมหายใจให้อีก 120 วัน ให้

ทุกฝ่ายได้เตรียมตั้งตัว ต้องยอมรับว่า ‘โรงแรม’ และ ‘ร้านอาหาร’ เป็นอีกกลุ่ม ธุรกิจหนึ่งที่พึ่งพาแรงงานต่างด้าวในจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะโรงแรมระดับ 3 ดาวลงมา หรือร้านอาหารที่รองรับตลาดกลางลงมา คุณฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย กล่าวยอมรับว่า พ.ร.ก. ฉบับดังกล่าว ย่อมมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการ ในภาคธุรกิจบริการอย่างแน่นอน ทั้งโรงแรม ร้านอาหารขนาด

กฎหมายแรงงาน โรงแรม

กลางและขนาดเล็ก เชื่อว่า อย่างน้อยทั่วประเทศไม่น่า ต่ำกว่า 30% เพราะแรงงานที่เข้ามาทำงานทั้งในตำแหน่งพนักงานเสิร์ฟ ล้างจาน เพราะเป็นแรงงานที่หาได้ยากมาก ที่ผ่านมา เมื่อการขยายธุรกิจทำให้ต้องเพิ่มจำนวนแรงงาน กลุ่มนี้ ผู้ประกอบการหลายรายจึงจำเป็นต้องรับแรงงานทั้งที่มี ใบอนุญาตทำงานผิดประเภท หรืออาจะไม่มีใบอนุญาต แต่เป็นการถูกชักชวนจาก ญาติ พี่ น้อง เข้ามาทำงาน

“ถ้ารัฐบาลจะเอาจริงกับการแก้ปัญหานี้ เชื่อว่า ไม่เฉพาะพ่อค้า แม่ค้าที่ขายก๋วยเตี๋ยว ขายอาหารตามสั่งตามริมฟุตบาท แต่ รวมไปถึงตามร้านอาหารเอง โดยเฉพาะร้านระดับกลางลงไปโดนกันทั่วอย่างแน่นอน เพราะอย่างตำแหน่งล้างจาน หรือแม้แต่พนักงานเสิร์ฟก็หายากมาก ไม่แน่ใจว่ากระทรวงแรงงาน

รู้ปัญหานี้อยู่ก่อนหรือเปล่า สมาคมเห็นว่า ที่ผ่านมา หรือแม้แต่จากนี้ไป ยังไงก็ยังมีความจำเป็นต้องพึ่งพาพี่น้องแรงงานจากเพื่อนบ้านอยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านอาหารระดับใดก็ตาม ดังนั้น เพื่อ พ.ร.ก. มีผลบังคับใช้ ผู้ประกอบการพึงระลึกไว้ว่า การหาแรงงานต้องมีความรอบคอบมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของการตรวจเอกสาร ใบอนุญาตต่างๆ ยิ่งถ้าเป็นผู้ประกอบการ รายเล็กๆ หรือเป็นธุรกิจที่ครอบครัวทำกันเองด้วยแล้ว จำเป็นต้องศึกษาเรื่องกฎหมาย และตรวจสอบเอกสารต่างๆ ให้มากขึ้น”

ดังนั้น เชื่อว่าเมื่อรัฐบาลเอาจริงเอาจังกับการแก้ไขปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างหนีไม่ได้ คือ จะเกิดภาวะแย่งตัวแรงงานกันมากขึ้น เพราะปัจจุบันแรงงานในหมวดนี้

ก็ไม่เพียงพออยู่แล้ว ยิ่งมีกฎระเบียบปราบแรงงานต่างด้าวเข้ามาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ยิ่งทำให้แรงงานที่ยังไม่ได้มีใบอนุญาตถูกต้อง หายไปจากตลาดแรงงานในเมืองไทยมากยิ่งขึ้น ทำให้ตลาดขาดแรงงานมากขึ้นตามไปอีก จนสุดท้ายก็เกิดภาวะ แย่งตัวแรงงานกัน ตรงนี้ถือเป็นประเด็นท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวรับมือ เพราะเชื่อว่าเมื่อแรงงานขาดแคลนก็จะ มีผลกับการย้ายงานเพื่อเพิ่มค่าแรง ในช่วงเวลาที่รัฐบาลผ่อนผัน ผู้ประกอบการต้องใช้เวลานี้ทบทวนและปรับตัวให้ทัน เพื่อให้สามารถรับมือเมื่อเกิดปัญหานั้นขึ้นมาจริง อย่างไรก็ตาม ยอมรับเลยว่าธุรกิจหลายๆ แห่งที่ปรับตัวไม่ทัน อาจต้องสะดุดบ้าง เพราะถ้าโดนจับขึ้นมาคงไม่คุ้มค่าปรับอย่างแน่นอน”

ด้านคุณศุภวรรณ ถนอมเกียรติภูมิ นายกสมาคมโรงแรมไทย (THA) กล่าวยอมรับว่า กลุ่มโรงแรมที่จะได้รับผลกระทบจากกฎหมายฉบับนี้ คือ กลุ่มโรงแรมระดับ 3 ดาวลงไป รวมถึงกลุ่มโรงแรมที่ไม่ได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เพราะกลุ่มนี้จำเป็นต้องประหยัดงบประมาณต้นทุนการบริหารจัดการองค์กร จนบางทีอาจรับแรงงานที่มีใบอนุญาตไม่ตรงกับประเภทงาน เข้ามาทำงาน ส่วนโรงแรมระดับ 4 ดาว ยิ่งถ้าเป็น 5 ดาว กลุ่มนี้ ไม่น่าจะมีแรงงานที่มีใบอนุญาตผิดประเภทแน่นอน เพราะจะมีฝ่ายทรัพยากรบุคคลคอยตรวจสอบอยู่

กฎหมายแรงงาน ร้านอาหาร

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ในปัจจุบัน ต่างขาดแรงงานเข้ามาอยู่ในระบบเป็นจำนวนมาก เนื่องจากคนไทยอาจไม่สนใจงานด้านนี้ หรือมีจุดอ่อนด้านภาษา จนเราต้องพึ่งพาแรงงานจากเพื่อนบ้านเข้ามา ซึ่งค่าจ้างแรงงานอาจจะถูกกว่าคนไทยด้วย เมื่อมีกฎหมายฉบับนี้ก็เปรียบเสมือนกับตัวคัดกรองแรงงานมากยิ่งขึ้น นั่นคือ ตัวส่งสัญญาณที่จะเกิดภาวะแย่งตัวแรงงานนับจากนี้ อย่างแน่นอน นายจ้างต่างๆ ต้องระวังในจุดนี้ และมองหาทางออกรองรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น

ตลาดแรงงานที่ธุรกิจบริการบ่นกันอุบอยู่แล้วว่าไม่เพียงพอๆ แต่วันนี้มี พ.ร.ก. ฉบับใหม่เร่งด่วน กลายเป็นเผือกร้อนที่ ผู้ประกอบการไม่อยากรับให้พองมือก็เกิดขึ้นอีก กลายเป็น เรื่องที่ต่างฝ่ายต่างต้องเร่งปรับตัว เพราะจากนี้ไปการแย่งชิงตลาดแรงงานก็อาจจะลุกเป็นไฟอีกครั้ง ยังไงก็ต้องจับตาติดตามกันต่อไป

Leave a Reply

Or

Your email address will not be published. Required fields are marked *