Thu. Mar 28th, 2024

เมื่อเทรนด์โลกเบนเข็มทิศไปยัง ‘ธุรกิจเพื่อสุขภาพ’

ผู้ประกอบการโรงแรมจะเบือนหน้าหนีจากตลาดการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) ได้อย่างไร ในเมื่อหลาย ๆ องค์ประกอบของบริการในโรงแรมล้วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพของ ลูกค้า ทั้งตัวห้องพัก อาหารและเครื่องดื่ม สปา รวมไปถึงการ ออกแบบบริการและกิจกรรมอื่น ๆ ที่ตอบโจทย์คนรักสุขภาพ

คุณพัฒนพงศ์ รานุรักษ์ และ คุณธเนศ จิระเสวกดิลก ผู้ก่อต้ัง บริษัท ดีวานา สปา จำกัด ฉายภาพให้ฟังว่า เหตุผลที่ ผู้ประกอบการโรงแรมต้องกระโจนเข้ามาเล่นในตลาดท่องเที่ยว เพื่อสุขภาพ เนื่องจากขนาดเศรษฐกิจของตลาดสุขภาพระดับโลก (Global Wellness Economy) เมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา มีขนาดใหญ่ถึง 4.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะเป็น ‘เมกะเทรนด์’ ตลอดไปในอนาคต ท้ังยังมีศักยภาพในการ จับจ่ายเป็นกลุ่ม Big High Spending ที่ห้ามคลาดสายตา

โดยกลุ่ม Personal Care, Beauty & Anti-Aging มีมูลค่า มากที่สุดเป็นอันดับ 1 กว่า 1.083 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาอันดับ 2 คือ กลุ่ม Healthy Eating, Nutrition และ Weight Loss ซึ่งมีมูลค่ารวม7.02 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามมาด้วยอันดับ 3 กลุ่ม Wellness Tourism มีมูลค่าถึง 6.39 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และอันดับ 4 คือ กลุ่ม Fitness และ Mind-Body มีมูลค่าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน อยู่ที่ 5.95 แสนล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอื่น ๆ เช่น กลุ่ม Preventive & Personalized Medicine and Public Health มีมูลค่า รองลงมาเป็นอันดับ 5 อยู่ที่ 5.75 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

“ตลาดท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพในไทย ถือเป็นหนึงในดาวเด่นที่มี การเติบโตมากกว่า 7% ต่อปี ทำรายได้กว่า 4 แสนล้านบาทในปัจจุบัน มากเป็นอันดับ 4 ในเอเชีย และติดอันดับ 13 ของโลก”

“สาเหตุที่ได้รับความนิยมอย่างมาก มาจากแหล่งที่มาอัน อุดมสมบูรณ์ เช่น ธรรมชาติ อาหาร สมุนไพร การแพทย์ แผนไทย กีฬาพื้นบ้าน และศาสนาที่มีแนวคิดส่งเสริม สุขภาพจิต ขณะเดียวกันคุณภาพบริการของธุรกิจโรงแรม ในไทยถือว่าอยู่ในระดับสูง”

แค่ดูฐานกลุ่มลูกค้าก็รู้ว่ามีศักยภาพขนาดไหน เพราะ นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เป็นเซ็กเมนต์ที่มีการเติบโตเร็วที่สุดในภาคท่องเที่ยว มีความพร้อมในการใช้จ่าย ให้ความสำคัญกับ ไลฟ์สไตล์ดูแลสุขภาพของตัวเอง ทั้งยังเป็นนักท่องเที่ยวที่ กระตือรือร้น และชื่นชอบบริการที่ออกแบบมาเพื่อคนคนนั้น โดยเฉพาะ เซ็กเมนต์การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพจึงเปรียบเหมือน ‘สนามเด็กเล่น’ แห่งใหม่ของผู้ประกอบการทุกราย

ในยุคของการซื้อขายที่ทุกคนต่างเป็นผู้เชี่ยวชาญ มีข้อมูลประกอบการซื้อหลังศึกษามาอย่างดีเยี่ยม และตัดสินใจซื้อ อย่างกะทันหัน จนถึงขั้น See Now Buy Now โดยมีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเข้ามาขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), Internet of Things (IoT) และอื่น ๆ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเดินทางและเข้าพักโรงแรม โดยนักท่องเที่ยว กลุ่มที่มองหาสินค้าและบริการเพื่อสุขภาพนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นชนช้ันกลาง และเป็นผู้หญิงที่ต้องการดูแลตัวเอง ให้น้ำหนักกับการอยู่อาศัยอย่างดีที่สุด

“เราต้องรู้ก่อนว่าทิศทางของเกมนี้กำลังเดินไปในทิศทางไหน เมื่อจับทิศได้ถูกต้อง เราถึงจะเป็นฝ่ายกำหนดเกมได้ และช่วยทำให้ประเมินสถานการณ์ตลาดท่องเที่ยวได้อย่างแม่นยำ สามารถพัฒนาสินค้าและบริการได้ตรงจุด เข้ากับพฤติกรรมของลูกค้า และในตอนนั้นเองลูกค้าจะ กลายเป็นผู้สร้างคอนเทนต์ให้เรา ช่วยเราขายของและพีอาร์ โรงแรมอีกที”

คุณอัญชลิกา กิจคณากร ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ อัคริณ โฮเทล กรุ๊ป เชนรับบริหารโรงแรมบูติกสัญชาติไทย เปิดเผยถึงแนวคิดการเข้ามารุกทำรีสอร์ทที่ตอบโจทย์การ ดูแลสุขภาพว่า ได้นำแนวคิดไลฟ์สไตล์การดูแลสุขภาพเข้ามา จับการพัฒนาโรงแรมและรีสอร์ทมากขึ้น เพื่อสร้างจุดเด่น และเอกลักษณ์ตอบรับความต้องการของนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน เพราะช่วยพาโรงแรมและรีสอร์ทหนีพ้นการแข่งขันสูง และสามารถปั้นราคาขายห้องพักให้ดีขึ้น อย่างเช่นตลาดโรงแรมและรีสอร์ทในภูเก็ต พบว่ายังคงแข่งขันด้วยการลดราคาห้องพักกันอยู่ เนื่องจากมีปริมาณซัพพลายในตลาดค่อนข้างมากหลังโรงแรมใหม่ ๆ เดินหน้าเปิดให้บริการอย่างต่อเนื่อง

เครืออัคริณจึงนำแนวคิด การกินดีอยู่ดี’ มาให้บริการที่ อลีนตา ภูเก็ต-พังงา รีสอร์ท ด้วยการนำเสนอเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ และออร์แกนิคเป็นทางเลือก ช่วยสร้างความแตกต่าง ส่วน อลีนตา รีทรีท บาหลีประเทศอินโดนีเซีย จะเป็นรีสอร์ทแห่งแรก ที่มุ่งเจาะตลาดท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพอย่างชัดเจน ผลักดันให้มีภาพลักษณ์เป็นหมู่บ้านสปา ชูจุดขายเรื่องการพักผ่อนแบบผ่อนคลาย โดยจะมี อยุรา เวลเนส สปาเซ็นเตอร์ ในรีสอร์ทแห่งนี้ด้วย เพื่อยกระดับความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์รีสอร์ท บอกยี่ห้อว่าเป็นรีสอร์ทที่เหมาะกับคนต้องการบำบัดสุขภาพ ท้ังร่างกายและจิตใจโดยเฉพาะ ด้วยขนาดห้องพัก 50 ห้องพัก บนเนินเขา ปัจจุบันอยู่ระหว่างพัฒนาโครงการ เตรียมเปิดให้ บริการภายในปี 2563

คุณศรีสุดา วนภิญโญศักดิ์ รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย (ททท.) กล่าวเสริมว่า ททท. เล็งเห็นถึงความสำคัญของนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพและความงาม ซึ่งเป็นตลาดที่น่าสนใจและมีการใช้จ่ายสูง อีกทั้งประเทศไทยได้รับการยอมรับระดับนานาชาติ เนื่องจากมีการให้บริการด้านการแพทย์ สถานพยาบาล คลินิกด้านสุขภาพความงาม สปา ที่ได้รับมาตรฐานสากล รวมถึงมีความคุ้มค่ากว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน

ททท. จึงได้กำหนดกลยุทธ์ขยายฐานตลาดกลุ่มความสนใจ พิเศษในแผนงานส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและ ความงาม เพื่อสร้างการรับรู้ภาพลักษณ์ประเทศไทยในฐานะ ‘Health and Wellness Destination’ พร้อมทั้งนำแนวคิดการ ให้บริการด้านสุขภาพและความงาม คุณภาพการให้บริการ มาเป็นแรงจูงใจ ในการเดินทางมายังประเทศไทยของนักท่องเที่ยวต่างประเทศให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถขยายผลถึงสินค้าทางการท่องเที่ยวต่าง ๆ ของไทยอีกด้วย

Leave a Reply

Or

Your email address will not be published. Required fields are marked *